สรุปรีไฟแนนซ์รถยนต์ กฏหมายใหม่เช่าซื้อรถยนต์ บังคับใช้ 10 มกราคม 2566 ลดต้นลดอก

สำนักงานกิจการยุติธรรม แจ้งรายละเอียด “กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์” และ กฎหมายเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ โดยประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2565 จะมีผลบังคับใช้ 10 มกราคม 2566 ทั้งนี้ สัญญาเช่าซื้อรถฯ ที่ทำไว้ก่อนวันที่ 10 ม.ค. 2565 ให้ใช้บังคับต่อไป แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ให้ผู้เช่าซื้อและผู้ให้เช่าซื้อตกลงกัน
สาระสำคัญที่ผู้ซื้อรถต้องรู้เกี่ยวกับ “กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์” และ กฎหมายเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ มีดังนี้

1.ผู้เช่าซื้อเสียดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกจากเงินต้นคงเหลือแต่ละงวด โดยมีอัตราดอกเบี้ยเช่าซื้อ 3 ประเภท คือ

  • รถยนต์ใหม่ต้องไม่เกินอัตรา ร้อยละ 10% ต่อปี
  • รถยนต์ใช้แล้ว รีไฟแนนซ์รถยนต์ ต้องไม่เกินอัตรา 15% ต่อปี
  • รถจักรยานยนต์ต้องไม่เกิน ร้อยละ 23% ต่อปี ต้องไม่เกินเพดานสูงสุดที่กฎหมายกำหนด ตามกลไกตลาดโดยคำนวณเป็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี ทั้งนี้คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาอาจปรับลดดอกเบี้ยหรือเพิ่มขึ้นตามสภาพเสรษฐกิจของประเทศในทุก 3 ปี

“กฎหมายเช่าซื้อรถยนต์” และ กฎหมายเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ มีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้

2.ผู้เช่าซื้อที่ต้องการ “ปิดบัญชี” ชำระค่างวดที่เหลือทั้งหมดก่อนครบกำหนดสัญญา ต้องได้รับส่วนลดดอกเบี้ย ในการปิดค่างวดเป็นขั้นบันได 3 กรณี ดังนี้

  • ชำระค่างวดไม่เกิน 1 ใน 3 ของค่างวดตามสัญญา ได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่า 60% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
  • ชำระค่างวดไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 แต่ไม่เกิน 2 ใน 3 ของค่างวดตามสัญญา ให้ได้รับส่วนลดไม่น้อยกว่า 70% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
  • ชำระค่างวดเกินกว่า 2 ใน 3 ของค่างวดตามสัญญา ได้รับส่วนลดทั้งหมด 100% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ

3.ส่วนต่างของหนี้ที่ยังขาดหลังขายทอดตลาด (ติ่งหนี้)

ในกรณีนำรถออกขายทอดตลาด หากผู้เช่าซื้อถูกยกเลิกสัญญา และผู้ให้เช่าซื้อนำรถออกขายทอดตลาด โดยปกติแล้ว ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่างวดที่ค้างอยู่ตามสัญญาประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ยที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งตามประกาศฉบับนี้ให้คิดได้เฉพาะเงินต้นเท่านั้น

4.การคิดเบี้ยปรับการผิดนัดชำระ

กรณีผู้เช่าซื้อชำระค่างวดล่าช้า หรือผิดนัดชำระค่างวด ผู้ให้เช่าซื้อ (ไฟแนนซ์) คิดเบี้ยปรับได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 5 ต่อปี โดยคำนวณจากยอดเงินที่ผิดนัดชำระ