ธุรกิจที่จะทำเป็นแฟรนไชส์แล้วนำไปขายสิทธิให้กับคนอื่นได้นั้น ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้า เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นกิจการที่มีผลกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาเปิดอยู่

การได้มีธุรกิจเป็นของตัวเองถือว่าเป็นความฝันที่พวกเรา ธุรกิจที่ไปได้สวยก็มีการขยายกิจการที่เติบโตและขยายตัวไปเรื่อยเมื่อมาถึงจนหนึ่งที่เรียกว่า “ขายดี” จนขยายตัวไม่ทัน จึงมีธุรกิจอีกรูปแบบที่ไว้ตอบสนองธุรกิจที่เป็นแบบนั้น ซึ่งเรารู้จักในชื่อของธุรกิจ “ขายแฟรนไซส์” จึงได้เกิดขึ้น

ธุรกิจที่ขายแฟรนไชส์ถือว่าเป็นความสำเร็จหนึ่งทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้ในยุคปัจจุบัน ธุรกิจที่นำมาขายแฟรนไชส์นั้นโดยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภคและงานบริการเป็นหลัก ธุรกิจกลุ่มนี้เป็นกลุ่มมีความสำเร็จสูง แต่ต้องขึ้นอยู่ว่า ธุรกิจของเรานั้นจุดเด่น ความแตกต่าง ฝีมือที่ดีกว่าคนอื่นอย่างไร

ดังนั้นการขยายธุรกิจโดยการทำเป็นแฟรนไชส์จึงเป็นแนวทางที่จะไปรอดได้ในอนาคต ก่อนที่เราจะเริ่มทำแฟรนไชส์ เราต้องทำความเข้าใจกับระบบแฟรนไชส์อย่างลึกซึ้ง วันนี้เราจึงมีวิธีการนำธุรกิจต้นแบบไปสู่การขายธุรกิจต้นแบบสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ดังนี้

1.วางแผน การวางแผนคือการเริ่มต้นที่ประเมินความเป็นได้ของธุรกิจ

กฎของการทำแฟรนไซด์อย่างหนึ่งที่หลายคนเข้าใจคลาดเคลื่อนคือ ทุกธุรกิจสามารถทำแฟรนไซส์ได้ แต่ความเป็นจริงนั้น ธุรกิจที่จะทำเป็นแฟรนไชส์แล้วนำไปขายสิทธิให้กับคนอื่นได้นั้น ต้องมีความพร้อมในหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นที่นิยมชมชอบของลูกค้า เป็นที่ต้องการของตลาด เป็นกิจการที่มีผลกำไรมาแล้ว มีร้านสาขาเปิดอยู่ มีธุรกิจนี้มานานพอจนตกผลึกและนำเอาเทคนิคประสบการณ์ และรูปแบบบริหารมาถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์ได้ ก่อนที่เราคิดจะนำธุรกิจไปขายแฟรนไชส์ ต้องมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของธุรกิจ ว่ามีความพร้อมมากน้อยแค่ไหน เพราะการขายแฟรนไชส์ต้องมีความพร้อม ถ้าไม่พร้อมรับประกันได้ว่าปัญหาจะตามมาอย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

2.ธุรกิจต้นแบบ เป็นการสร้างต้นแบบของธุรกิจให้เป็นรูปร่าง

เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น เพราะลูกค้าที่ซื้อแฟรนไชส์ของเราเขาต้องมีการค้นข้อมูล เช่นมาดูกิจการต้นแบบ สำรวจตลาด เป็นต้น ดังนั้นก่อนที่เราขายธุรกิจต้นแบบของเราไปเป็นแฟรนไชส์ ต้องมีการจัดระเบียบร้านค้าของเราให้ดีและน่าสนใจ มีการกำหนดรูปแบบให้เป็นมาตรฐาน ที่สำคัญร้านที่เราทำต้องสามารถนำแบบไปใช้ได้จริงด้วย เพื่อรักษาชื่อเสียง คุณภาพสินค้า การบริการ และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้เหมือนกันทุกสาขา อาจจะเรียกได้ทุกร้านของสาขาต้องมีคุณภาพที่ดีและมาตรฐานเดียวกัน

3.ค่าใช้จ่าย ธุรกิจต้นแบบนั้นเมื่อมีระบบที่ดี

แล้วนั้นยังต้องมี สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือระบบการเงิน เพราะโครงสร้างระบบการเงินถือเป็นเส้นเลือดหลักของระบบงาน ถ้าระบบการเงินดีธุรกิจก็ดำเนินได้ดีเช่นกัน เช่นค่าใช้จ่ายลูกค้าที่จะเปิดแฟรนไชส์ 1 สาขา มีรายละเอียดในการลงทุนอะไรบ้าง มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ มีจุดคุ้มทุนอยู่ที่เท่าไหร่ต่อวัน จุดคุ้มทุนของค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณเท่าไหร่ และการกำหนดเป้าหมายว่าเราต้องมีลูกค้าขั้นต่ำเท่าไหร่ คืนเงินลงทุนประมาณกี่ปี และมีความคุ้มค่าในลงทุนทำธุรกิจนี้หรือไม่  การกำหนดค่าใช้จ่ายต้องมาจากตัวเลขใกล้ความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งส่วนนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนดรายได้ของเจ้าของธุรกิจต้นแบบด้วย

4.สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จัก

เมื่อเราคิดทำธุรกิจต้นแบบให้เป็นแฟรนไชส์ ต้องสำรวจตลาดก่อนว่า ชื่อเสียงของสินค้า หรือ แบรนด์สินค้า ของเราเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากน้อยแค่ไหน ถ้าคนไม่รู้จักหรือรู้จักน้อย ธุรกิจของเราก็มีแนวโน้นที่จะไม่สามารถขายแฟรนไชส์ให้กับลูกค้าได้ เพราะลูกค้าไม่รู้จักเรา ดังนั้นการสร้างแบรนด์สินค้าให้เป็นที่รู้จักก็เท่ากับว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจทางอ้อม ถ้าแบรนด์สินค้าของเรามีชื่อเสียงดีพอ ก็จะมีคนช่วยไปโฆษณาแบบปากต่อปาก เราก็สามารถขยายฐานตลาดให้กว้างขึ้นและนำไปสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

5.เอกสารคู่มือการถ่ายทอดความรู้

ระบบแฟรนไชส์นั้นจำเป็นต้องมีเอกสารคู่มือการดำเนินธุรกิจที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับธุรกิจต้นแบบ  คู่มือดังกล่าวจะเป็นไกด์ไลน์หรือเป็นคู่มือการบริหารธุรกิจต้นแบบโดยเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ทางธุรกิจต้นแบบ ให้แก่ผู้อื่น คู่มือนี้จะสามารถควบคุมให้การบริหารงานในระบบแฟรนไชส์ได้ง่ายและราบรื่นขึ้น ไม่ว่าเราจะขายแฟรนไชส์กี่สาขา ทุกสาขาก็จะยึดแนวทางการบริหารธุรกิจและบริการในรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน

6.คัดเลือกลูกค้า

ธุรกิจที่ขยายด้วยระบบแฟรนไชส์จนประสบความสำเร็จ เราจำเป็นต้องมีระบบการคัดเลือกผู้ซื้อที่มีความพร้อม ยิ่งหากแบรนด์เรามีความเข็มแข็งมากเท่าไหร่ มีคนอยากเข้าซื้อแฟรนไชส์เรามากขึ้นเท่านั้น อย่าลืมว่าหากเราเลือกลูกค้าไม่ดี เขาจะนำแบรนด์ของเราเสียหายได้ และยิ่งทำให้ลดความน่าเชื่อถือของแฟรนไชส์ได้

7.การฝึกอบรม

เมื่อเรามีธุรกิจที่แข็งแรง มีระบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพและง่ายต่อความเข้าใจ การขายหรือสร้างแฟรนไชส์ของเราก็มีโอกาสที่จะล้มเหลว ต้องไม่ลืมว่าการซื้อแฟรนไชส์นั้นเป็นมากกว่าการซื้อขายธรรมดา แต่เป็นคู่ค้าคู่ธุรกิจที่สร้างอนาคตร่วมกันเลยทีเดียว เราจำเป็นต้องฝึกอบรมให้ความรู้และวิธีการเกี่ยวกับธุรกิจต้นกับลูกค้าที่ซื้อแฟรนไชส์ไปเพื่อที่จะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อชื่อเสียงของตัวแบรนด์เองด้วย

จากขั้นตอนที่ได้กล่าวมานั้นถือเป็นจุดเริ่มต้นขายแฟรนไชส์ ซึ่งจริงๆ การเป็นทำธุรกิจขายแฟรนไซส์ นั้นต้องเริ่มจากการทำธุรกิจต้นแบบให้ประสบความสำเร็จจนถึงจุดที่มีความน่าเชื่อถือและประสบความสำเร็จ สิ่งที่ต่อยอดจากนั้นคือการนำธุรกิจต้นแบบมาขายเป็น แฟรนไซส์ ถ้าธุรกิจเราคือ “ตัวจริง” การขายแฟรนไซส์ของธุรกิจเราคงไม่ยากเกินไป สำหรับคนที่อยากประสบความสำเร็จ ต้องรีบแล้วหนทางนี้เปิดกว้างสำหรับทุกคน