[ad_1]











มีเขื่อนภูมิพลแล้ว ใยยังต้องเติมน้ำให้อีก



       
ทั้งยังเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในยุคนั้น และใหญ่ติดอันดับในเอเชีย ด้วยความจุ 13,462 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่อ่างเก็บน้ำยาวตั้งแต่ จ.เชียงใหม่ ลงมาถึง จ.ตาก ระยะทาง 207 กิโลเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี 2507 นับถึงขณะนี้ก็กว่าครึ่งศตวรรษเข้าแล้ว

       

       คุณูปการของเขื่อนภูมิพลใหญ่หลวงยิ่ง แม้จุดเริ่มต้นจะผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นสำคัญ เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ทำลายโรงไฟฟ้าหลักของรัฐเสียหายแทบสิ้น รวมทั้งความต้องการใช้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ดังนั้น จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี จึงสั่งการให้หม่อมหลวงชูชาติ กำภู อธิบดี

       กรมชลประทานก่อสร้างเขื่อนพลังน้ำ แต่ในการออกแบบได้ออกแบบในลักษณะเขื่อนอเนกประสงค์ นอกจากผลิตไฟฟ้าแล้ว ยังพ่วงเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และระบบนิเวศไปในตัว

        ที่ตั้งตัวเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งพื้นที่ลุ่มน้ำ ล้วนอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือทั้งสิ้น แต่ประโยชน์

       กลับเกื้อกูลพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาของภาคกลาง รวมทั้งเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ทั้งสิ้น

       

       กว่า 53 ปี พิสูจน์แล้วว่าถ้าไม่มีเขื่อนภูมิพล ประเทศไทยก็คงไม่สามารถเจริญก้าวหน้ามาได้ถึงวันนี้ ทั้งเป็นฐานการผลิตและฐานน้ำอุปโภคบริโภคในที่ราบภาคกลางกว่า 20 จังหวัด ในอีกด้านหนึ่งระยะเวลา 53 ปี เริ่มมีปัจจัยที่ลดขีดความสามารถของเขื่อนภูมิพล

       

        โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ที่ทำให้ฝนเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงปริมาณ พื้นที่ ระยะเวลา รวมทั้งความต้องการใช้น้ำบริเวณเหนือเขื่อนภูมิพลที่ทำให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนน้อยลง

       

       นับแต่สร้างเขื่อนมามีน้ำไหลเต็มอ่าง 5 ปี อีก 40 กว่าปีที่เหลือ น้ำเข้ามาปกติบ้าง น้อยกว่าปกติบ้างซึ่งเริ่มเห็นผลประการหลังมากขึ้นเป็นลำดับ สวนทางกับความต้องการน้ำที่เพิ่มขึ้นของลุ่มน้ำเจ้าพระยา

       

       “ระยะหลังเขื่อนสิริกิติ์จะเนื้อหอมมากขึ้น เพราะมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างมาก จัดสรรน้ำลงมาช่วยลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้มากขึ้น ในขณะที่เขื่อนภูมิพลมีข้อจำกัดมากขึ้นกว่าเดิม” ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน กล่าว

       

       ปัญหาคือจะเอาน้ำจากไหนมาเติมเขื่อนภูมิพล?

       

        เหนือเขื่อนภูมิพลขึ้นไป น้ำท่าส่วนหนึ่งจะไหลลงแม่น้ำสาละวินและลำน้ำสาขา ปีหนึ่งๆ มีน้ำท่าจากประเทศไทยไหลลงสาละวินมากถึง 8,937 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นในลักษณะเดียวกับที่น้ำท่าของไทยไหลลงแม่น้ำโขง โดยที่ประเทศไทยไม่ได้รับประโยชน์แม้แต่น้อย

       

        ผลการศึกษาระยะแรก พบว่ามีแนวผันน้ำมาเติมเขื่อนภูมิพลถึง 22 แนว แต่กรมชลประทานคัดกรองแล้วเหลือ 2 แนว คือ

        1.แนวส่งน้ำแม่น้ำเมย-แม่น้ำตื่น ประกอบด้วยคลองผันน้ำจากแม่น้ำเมย ลำน้ำสาขาแม่น้ำสาละวินไปยังสถานีสูบน้ำเมย ก่อนส่งน้ำไปยังอุโมงค์อัดน้ำขึ้นไปถังพักแล้วไหลลงอุโมงค์ส่งน้ำด้วยแรงโน้มถ่วงไปลงแม่น้ำแม่ตื่น ก่อนไหลลงเขื่อนภูมิพล จะผันน้ำได้ปีละ 1,870 ล้านลูกบาศก์เมตร ระยะทางของอุโมงค์ส่งน้ำ 16.33 กิโลเมตร ไหลลงแม่น้ำตื่นอีก 35 กิโลเมตรก่อนลงเขื่อนภูมิพล

       

        ประเด็นปัญหาคือแม่น้ำเมยเป็นของประเทศเมียนมาร์ ต้องประสานและทำความเข้าใจกัน อาจทำให้การพัฒนาล่าช้า

       

       2.แนวส่งน้ำแม่ยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยสร้างอาคารบังคับน้ำบนแม่น้ำยวมตอนล่าง เหนือจุดบรรจบแม่น้ำเมย 14 กิโลเมตร ในเขต อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เพื่อกักเก็บน้ำและยกระดับน้ำเข้าสู่สถานีสูบน้ำสบเงา เพื่อสูบน้ำเข้าอุโมงค์ส่งน้ำ ความยาว 61.85 กิโลเมตร ผันน้ำได้เฉลี่ยปีละ 1,876 ล้านลูกบาศก์เมตรใกล้เคียงกัน

        เนื่องจากแม่น้ำยวมเป็นแม่น้ำของประเทศไทย จึงมีความเป็นไปได้มากกว่าการผันน้ำจากแม่น้ำเมยของเมียนมาร์ และแม้ใช้เงินลงทุนสูงกว่าจากระยะทางที่ไกลกว่า แต่ผลตอบแทนก็คุ้มค่า

        ขณะนี้ จึงเป็นการศึกษาความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA ) ของทั้ง 2 แนว

       ส่งน้ำ ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2561

        ในทางวิศวกรรมนั้นเป็นไปได้แทบจะทุกประการ การเจาะอุโมงค์แม้ยังเป็นเรื่องใหม่ในไทย แต่ในต่างประเทศเทคโนโลยีนี้ก้าวหน้าไปมากแล้ว ไม่ว่าสวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน และฯลฯ

       

       ส่วนผลกระทบก็ต้องว่ากันไป เช่นเดียวกับผลกระทบต่อพื้นที่บริเวณแม่น้ำยวมตอนล่าง ซึ่งมีแต่พื้นที่ป่า แทบไม่มีเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน

       

        ประเด็นจึงอยู่ที่นโยบายรัฐบาล คสช. ว่า ตระหนักถึงปัญหานี้มากน้อยเพียงใด ถ้าไม่ต้องนำพาปัญหาในอนาคตก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลชุดหลัง ซึ่งเป็นเรื่องผะอืดผะอมมาโดยตลอดว่า ขาดความกล้าหาญในการตัดสินใจ เพราะเกรงปัญหาฐานคะแนนเสียง และการต่อต้านจากเอ็นจีโอ ทั้งที่รู้ว่าจำเป็น และต้องรีบทำก็ตาม

        การปล่อยให้เขื่อนภูมิพลขอดน้ำ ก็เท่ากับเมินเฉยต่อความเป็นความตายของประเทศในอนาคต

       ช้าจึงไม่เป็นการ นานจึงไม่เป็นคุณแม้แต่น้อย เพราะแม้ตัดสินใจสร้างก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6-7 ปี

       

        ตอนนี้แม้จะช่วยกันประหยัดน้ำ ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรที่ต้องงดนาปรังกันบ้าง ซึ่งแค่พอถูๆ ไถๆ ชะลอปัญหาน้ำระดับหนึ่งเท่านั้น

       เพราะความจริงที่น่าหวั่นกลัวคือ ความต้องการน้ำไม่เคยลดลงต่างหาก

[ad_2]

ขอบคุณที่มา manager.co.th