สรุปโดนฟ้องเป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลธนาคารต้องทำอย่างไร

             สินเชื่อส่วนบุคคล ถือเป็นอีกหนึ่งทางทางเลือกสำหรับคนเราในจังหวะของชีวิตที่ต้องการเสริมสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง ยิ่งด้วยสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันนี้ด้วยแล้ว การที่ภาระค่าใช้จ่ายมีมากกว่ารายรับสำหรับบางคนจึงต้องหันหน้าเข้าไปขอใช้สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งต้องบอกว่าปัจจุบันนี้ การเข้าถึงไม่ได้เป็นเรื่องที่ยุ่งยาก มากเงื่อนไข เนื่องจากมีหลายๆ สถาบันทางการเงินออกมาให้บริการทางด้านนนี้

ด้วยการที่เราสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งเงื่อนไขก็ไม่ยุ่งยากนี่เอง จึงทำให้บางครั้งบางที ที่เรานั้นหลงเข้าไปอยู่ในวังวนของสินเชื่อส่วนบุคคลนี้ ด้วยการที่มีหนี้สินมากเกินกว่าความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเอง โดยอาจเริ่มจากชำระไม่ตรงตามกำหนด ค้างจ่ายติดต่อกันหลายเดือน จนกระทั่งท้ายสุดส่งผลให้ต้องถูกฟ้องในที่สุด

หากว่าเราก้าวมาถึงจุดนี้ จุดที่ต้องถูกฟ้องร้อง เราต้องทำอะไรบ้าง เราต้องรู้อะไรบ้าง บทความนี้จะมาแบ่งปันวิธีการรับมือ วิธีการจัดการเมื่อถูกฟ้องร้องจากสถาบันทางการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ให้กับลูกหนี้ทุกๆ ท่านได้รับทราบกัน

ถูกฟ้องตอนไหน  รู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังถูกฟ้อง

รวมหนี้เป็นก้อนเดียวธนาคารไหนดี

ลงทะเบียนรวมหนี้เป็นก้อนเดียว คลิ๊กที่นี่

หมายศาล คือคำตอบ เพราะว่าขั้นตอนสำคัญขั้นตอนแรกที่จะรู้ได้ว่าเรากำลังถูกฟ้องหรือไม่คือ ต้องมีหมายศาลถูกส่งไปตามที่อยู่ในทะเบียนบ้านของเรา ตัวเราซึ่งเป็นลูกหนี้ต้องมีหน้าที่ตรวจสอบเรื่องนี้ด้วยตัวเองว่ามีหมายศาลถูกส่งไปหรือไม่ เพราะบางครั้งบางทีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านและที่อยู่ปัจจุบันของเรานั้นอยู่กันคนละที่ แล้วจะมาอ้างไม่รับรู้ ไม่รับทราบ ไม่ได้

นั่นก็เพราะว่าในทางกฎหมาย หากหมายศาลถูกส่งถึงบ้านจะถือว่า ลูกหนี้ได้รับแล้ว จะปฏิเสธว่าไม่ได้รับไม่ได้ ซึ่งทางเราสามารถตรวจสอบว่าถูกฟ้องหรือยังได้ด้วยการ ไปติดต่อสอบถามได้ที่ศาลในเขตอำนาจตามทะเบียนบ้านของเราเอง

หมายศาล

เมื่อได้รับหมายศาลแล้ว อย่าตกใจ  ให้ปรับความเข้าใจใหม่ว่า หมายศาลเปรียบเสมือนการสื่อสารผ่านคนกลางจากเจ้าหนี้ถึงลูกหนี้ จากนั้นให้ทำการอ่านให้เข้าใจในรายละเอียดนั้น ว่าศาลต้องการที่จะสื่อสารอะไรให้กับเรา ที่สำคัญให้จำไว้ว่าคดีแพ่งนั้นไม่มีการติดคุก สำหรับหมายศาลแรกนั้นที่ลูกหนี้ได้รับในฐานะของจำเลยจะเป็นการที่เรียกให้เรานั้นไปยื่นคำให้การเพื่อต่อสู้คดีภายในระยะเวลาที่ถูกกำหนดมาหลังจากที่เราได้รับหมายศาลนั้น เช่น 15 วัน ซึ่งนั่นหมายความว่า ศาลไม่ได้คิดที่จะฟังความเพียงข้างเดียว ศาลต้องการให้เราซึ่งเป็นลูกหนี้เข้าไปชี้แจงถึงข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องในศาลด้วยนั่นเอง

การอ่านหมายศาล สิ่งที่เรานั้นต้องตรวจสอบมีดังต่อไปนี้

  1. หมายเลขคดี
  2. ศาลไหน เพราะประเทศไทยมีศาลทั่วประเทศ
  3. ประเด็นที่เจ้าหนี้ต้องการฟ้อง
  4. จำนวนเงินที่ฟ้องตรงกับหนี้สินที่เกิดขึ้นหรือไม่ รายการใดไม่ตรงกับสัญญา
  5. เจ้าหนี้ฟ้องภายในระยะเวลาหรืออายุความที่กฎหมายกำหนดหรือไม่

กล่าวคือ เมื่อเรานั้นซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ได้ชำระหนี้ตามเงื่อนไขสัญญา ก็จะถือว่าเรานั้นผิดนัดชำระ ซึ่งหากทางเจ้าหนี้ต้องการที่จะดำเนินคดีกับเราซึ่งเป็นลูกหนี้เพื่ออาศัยอำนาจศาลให้ลูกหนี้ติดต่อเพื่อชำระหนี้ ก็ต้องฟ้องภายในระยะเวลาหรืออายุความตามที่มีกฏหมายกำหนด

โดยอายุความ ของคดีจะเริ่มนับจากวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหรือวันที่ลูกหนี้ได้ทำการชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ได้แก่ หนี้บัตรเครดิต 2 ปี สินเชื่อส่วนบุคคล 5 ปี และหนี้จากเงินกู้ยืมแบบผ่อนคืนเป็นงวด 5 ปี

ไปศาลตามนัด

ไปศาลตามนัด ความสำคัญของการที่เรานั้นไปศาลตามนัดหมายจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงซึ่งเจตนาของเราว่าเรานั้น มีความตั้งใจที่จะชี้แจงให้ทราบถึงเหตุผลที่เรานั้นไม่อาจที่จะชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขของเจ้าหนี้ได้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

และที่สำคัญหากเราไม่ยอมไปศาลตามนัดหมาย จะส่งผลให้เราที่เป็นลูกหนี้จะเสียสิทธิในการต่อสู้ หมดโอกาสในการเจรจาต่อรองกับเจ้าหนี้ต่อหน้าคนกลางซึ่งก็คือศาล ส่งผลให้ศาลจำเป็นที่จะต้องมีคำพิพากษาตามคำฟ้องและเหตุผลของทางเจ้าหนี้แต่เพียงด้านเดียว โดยที่ลูกหนี้อย่างเราไม่ได้ชี้แจง ต้องชำระหนี้เต็มจำนวนอย่างเลือกไม่ได้

เตรียมตัวไปศาล อย่างไรดี

  1. การไปศาล เราควรไปตามกำหนดนัดในคำฟ้อง และควรที่จะไปถึงก่อนเวลานัด 30 นาที เพื่อที่เรานั้นจะได้มีเวลาตรวจสอบ และจัดเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย เช่น บัตรประชาชน
  2. หากว่ามีผู้ค้ำประกันที่ต้องไปศาลด้วย หรือได้มอบอำนาจให้มาอย่างถูกต้อง และต้องมีสำเนาบัตรประชาชนผู้ค้ำประกันมาด้วย
  3. ในส่วนของด้านข้อมูล ตัวเราต้องเตรียมคำอธิบายถึงเหตุผล ความจำเป็นต่าง ๆ ที่ทำให้เรนั้นไม่สามารถที่จะชำระหนี้ได้ เช่น รายได้ลดลง รายจ่ายเพิ่มขึ้น ภาระในการดูแลครอบครัว
  4. เตรียมประเด็นต่อสู้ โต้แย้ง เช่น การถูกคิดดอกเบี้ยเกินจริง ข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง หรือว่าหากคดีนั้นหมดอายุความแล้ว เราซึ่งเป็นลูกหนี้สามารถปฏิเสธการชำระหนี้ได้ ยกเว้นแต่มีหนังสือรับสภาพหนี้ หรือการรับสภาพความผิดแล้ว
  5. ทุกครั้งในการที่จะต้องลงนามในเอกสารของเจ้าหนี้ เราซึ่งเป็นลูกหนี้มีหน้าที่อ่านให้เข้าใจ ตรวจสอบให้ละเอียดก่อนลงนามเสมอ เพราะว่าหลังจากที่ลงนามแล้วเราจะอ้างว่า ไม่รู้ไม่ได้

โดนฟ้องเป็นหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล เจรจาหนี้ ทำสัญญาประนีประนอม

ลงทะเบียนรวมหนี้เป็นก้อนเดียว คลิ๊กที่นี่

หลังจากที่ลูกหนี้ถูกฟ้องแล้วนั้น ลูกหนี้ยังคงที่สามารถจะเจรจากับทางเจ้าหนี้ จนกระทั่งได้ข้อยุติในการที่ลูกหนี้จะชำระหนี้คืนแล้ว เจ้าหนี้และลูกหนี้ต้องไปทำสัญญา ที่เรียกว่า สัญญาประนีประนอมยอมความในศาล ซึ่งเป็นการพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความ หรือที่เรียกสั้น ๆ ได้ว่า การพิพากษาตามยอม สัญญานี้จะผูกพันทั้งสองฝ่ายคือทั้งทางเจ้าหนี้และทางลูกหนี้

โดยลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันที่ถูกฟ้องเป็นจำเลย สามารถที่จะทำสัญญาตามยอมนี้ได้ด้วยตนเอง ไม่จำเป็นที่จะต้องจัดหา จัดจ้างทนายความที่ต้องทำให้เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมาโดยไม่จำเป็น  เพราะว่าจะมีเจ้าหน้าที่ศาลและศาลที่คอยช่วยช่วยตรวจสอบความถูกต้องและเป็นธรรมให้อยู่แล้ว

ซึ่งในการทำสัญญาตามยอมในศาลนั้น จะทำให้ศาลมีคำสั่งคืนเงินค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้กับเจ้าหนี้ด้วยบางส่วน ทำให้ส่งผลดีต่อทางลูกหนี้ที่จะรับภาระในส่วนนี้ลดน้อยลง และยังจะสามารถเจรจากับทางเจ้าหนี้เพื่อขอไม่ให้ลูกหนี้ต้องรับผิดในค่าทนายความของเจ้าหนี้ได้อีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่มีประโยชน์ต่อลูกหนี้ แต่อย่างไรก็ตาม หากว่าลูกหนี้ผิดสัญญา ทางเจ้าหนี้ก็สามารถดำเนินการบังคับคดีกับทางลูกหนี้ได้ทันที

สิทธิของลูกหนี้ หลังจากที่ศาลพิพากษา

ลูกหนี้มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ ตามคำพิพากษาและตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ว่าลูกหนี้จะร่วมฟังคำพิพากษาด้วยหรือไม่ได้เข้าร่วมฟังก็ตาม โดยลูกหนี้มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลภายในเวลา 1 เดือนนับแต่วันพิพากษา

หากว่าทางลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ ลูกหนี้จะต้องติดต่อเจ้าหนี้ เพื่อเจรจาปรับเงื่อนไขการชำระเงิน พร้อมทั้งขอให้เจ้าหนี้ช่วยชะลอการบังคับคดี แต่อย่างไรก็ตาม เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะตอบตกลงหรือปฏิเสธก็ย่อมได้ เช่น ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ชำระหนี้เป็นเงินก้อน แต่ถ้าหากว่าทางลูกหนี้ต้องการขอผ่อนชำระ ก็ขึ้นอยู่กับทางเจ้าหนี้ว่าจะยอมหรือไม่ยินยอม

หากว่าทางลูกหนี้ชำระคืนหนี้ไม่ได้ ทางเจ้าหนี้จะทำการตามสืบว่า ลูกหนี้มีทรัพย์สินอะไรอยู่บ้างและทรัพย์สินนั้นอยู่ที่ไหน ลูกหนี้ทำงานอยู่ที่ไหน หากว่าเจอแล้วทางเจ้าหนี้ก็จะขอให้ทางศาลออกหมายบังคับคดี และศาลจะแจ้งไปยังกรมบังคับคดี เพื่อให้กรมบังคับคดีแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อไปยึดทรัพย์ และ/หรือ อายัดเงินเดือนของทางลูกหนี้

  1. ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ เช่น ที่ดิน บ้าน เมื่อทรัพย์ถูกยึดแล้ว ก็จะถูกนำออกขายทอดตลาดได้ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้
  2. อายัดเงินเดือน ค่าจ้าง เงินสงเคราะห์ โบนัส เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน เงินฝากในบัญชีธนาคาร เงินปันผล ค่าเช่าที่ลูกหนี้ได้รับ แต่จะไม่อายัดทั้งหมด ต้องเหลือเงินให้ลูกหนี้ใช้บ้าง เช่น

– เงินเดือน อายัดไม่เกิน 30% ของอัตราเงินเดือนก่อนหักรายจ่าย และต้องมีเงินเหลือไม่น้อยกว่าเดือนละ 20,000 บาท

– เบี้ยเลี้ยงชีพ-ค่าล่วงเวลา-เบี้ยขยัน อายัดไม่เกิน 30% ของเงินที่ได้รับ

– เงินโบนัส อายัดไม่เกิน 50% ของเงินที่ได้รับ

– เงินตอบแทนกรณีออกจากงาน อายัดได้แต่ต้องเหลือไม่น้อยกว่า 300,000 บาท

เมื่อลูกหนี้ถูกอายัดเงินเดือน บริษัทนายจ้างจะต้องนำส่งเงินเดือนของทางลูกหนี้เท่ากับจำนวนที่อายัด ให้กับกรมบังคับคดีเพื่อนำส่งให้กับเจ้าหนี้ต่อไป

อย่างไรก็ตามทาง ลูกหนี้เองก็มีสิทธิขอลดเงินเดือนและค่าจ้างที่อายัด ได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่อายัดไว้เดิม โดยสามารถยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี และชี้แจงถึงความจำเป็น เหตุผลที่ต้องขอลด เช่น ต้องเลี้ยงดูบุตร ครอบครัว ต้องผ่อนบ้าน จ่ายค่าน้ำค่าไฟ

โดยต้องระบุลงไปให้ชัดเจนว่าขอลดเหลือเท่าไร โดยให้แนบสลิปเงินเดือน และหนังสือรับรองเงินเดือน รวมไปถึงเอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย  จึงจะได้รับการพิจารณาตามที่เห็นสมควร

สิ่งที่ต้องระวังและไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่งคือ กรณีที่ทางลูกหนี้พยายามผ่องถ่ายทรัพย์ไปให้ผู้อื่นหรือส่อเจตนาในการซ่อนทรัพย์ เพราะว่าหากมีการพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงจะมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ในกระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องสำคัญที่อยากให้เอาใจใส่

ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้นคือสิ่งที่ลูกหนี้ควรรู้ไว้ ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่เรานั้นโดนฟ้องจะต้องทำอย่างไร จะต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง การไปศาลไม่ได้น่ากลัวหรือน่ากังวลใจแต่อย่างใด กลับกันมันคือโอกาสที่ดีที่จะได้พบกับทางเจ้าหนี้ ได้มีโอกาสในการเจรจาต่อรองประนีประนอมกัน

หากมองกันตามความเป็นจริงแล้วนั้นทางลูกหนี้ก็คงไม่มีใครที่ตั้งใจจะผิดนัดชำระหรือค้างชำระ ในขณะที่ทางเจ้าหนี้เองก็คงไม่ต้องการที่จะให้เกิดหนี้เสีย ดังนั้นการพบกันจึงเป็นทางออกที่ดีทางหนึ่งแต่เหนือสิ่งอื่นใดหากเรามองไปยังจุดเริ่มต้นเลยก็คือ เราทุกคนควรที่จะมีวินัยทางการเงิน บริหารจัดการการเงินให้ดี หากจำเป็นที่จะต้องมีหนี้จริงๆ ต้องมั่นใจให้ได้ว่าตัวเรานั้นมีความสามารถในการชำระหนี้ก้อนหนี้ได้ ไม่กระทบกับสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง

เพราะการที่โดนฟ้อง ต้องมาเจรจากันที่ศาล มันคือการหาทางแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดั้งนั้น หากว่าเราสามารถป้องกันได้ตั้งแต่จุดเริ่ม ตั้งแต่ต้นก็ย่อมที่จะเป็นสิ่งที่ดี

อ้างอิง : ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย

สรุปอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2564 ล่าสุด