BUILK เป็นธุรกิจก่อสร้างที่มีเครือข่ายขนาดใหญ่และที่สำคัญคือไม่มีหน้าร้าน นั้นคือความแตกต่างที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร

โลกในปัจจุบันนั้นจะหลีกเหลี่ยงไม่ได้ว่า การเจริญเติบโตนั้นสามารถเห็นได้จากสิ่งปลูกสร้าง ถนน ตึก อาคารบ้านเรือน ทุกสิ่งเกิดจาก ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจนี้จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ ที่ทุกคนต้องมี และธุรกิจนี้ถือว่าเป็นธุรกิจที่จำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ ว่ากันว่าบริษัทที่ประกอบธุรกิจก่อสร้างมี 80,000 บริษัท

ในบริษัท 80,000 บริษัทนั้น จะมีบริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางประมาณ 3,000 บริษัท ที่เหลือจะเป็นบริษัทขนาดเล็กและ SMEs ที่มีขนาดเล็ก ในธุรกิจก่อสร้างจะมีปัญหาหลักที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งเป็นประจำโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กและ SMEs เช่นกัน ยิ่งเป็นบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ปัญหาใหญ่คือ การทำงานไม่เป็นระบบยิ่งบริหารยิ่งขาดทุน ปัญหาการก่อสร้างรายวัน ขาดระบบจัดการสินค้าคงหลัง เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ คุณไผท ผดุงถิ่น ผู้ก่อตั้ง BUILK ซึ่งอดีตเคยเป็นผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้าง มาก่อนและได้ผันตัวเองไปทำ ธุรกิจซอฟแวร์ ได้มองเห็นช่องว่างทางการตลาดด้าน ซอฟแวร์ที่สนับสนุนระบบของผู้ประกอบการรายย่อยจึงได้ทำการที่ยังขาดอยู่ในประเทศไทย

BUILK เป็นศัพท์แสลงมา จาก BUILD ที่แปลว่า “สร้าง” BUILK คือโปรแกรมบริหารธุรกิจที่เปิดให้ใช้งานฟรี โดยมีทั้ง โปรแกรมควบคุมต้นทุนงานก่อสร้าง เว็บไซต์สำเร็จรูปเพื่อธุรกิจก่อสร้าง แอพพลิเคชันสื่อสาร ประสานงานหน้าไซต์ และแหล่งรวมวัสดุก่อสร้างราคาถูกสำหรับสมาชิกโดยเป็นระบบ onlineเนื่องจากงานก่อสร้างบ้าน อาคาร คอนโด หมู่บ้าน ฯลฯ มีรายละเอียดมาก ผู้ประกอบการรับเหมาจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยรอบด้านอย่างถี่ถ้วน มิฉะนั้น งบอาจบานปลาย หรือขาดทุนหนัก  BUILK จึงเป็นคำตอบที่จะช่วยธุรกิจก่อสร้างได้อย่างดี

กว่าจะมาเป็น BUILK

คุณไผท ผดุงถิ่น เจ้าของและผู้ก่อตั้งได้เล่าให้ฟังว่า สมัยเรียนตอนเรียนหนังสือจบใหม่ๆในสาขาวิศวกรรมโยธา(Civil Engineering) จากมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ในปีพ.ศ.2540 ก็เกิดแรงบันดาลใจตอนช่วงใกล้จบชั้นปี4 โดยเขาได้เจอกับ คุณศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ ซึ่งเป็นนักเล่นหุ้น ทำเรื่องอสังหาริมทรัพย์ แต่เมื่อพบกับวิกฤตเศรษฐกิจปีพ.ศ.2540 ก็ล้มละลายจากเศรษฐีพันล้านมาเป็นพ่อค้าขายแซนด์วิช ศิริวัฒน์แซนด์วิช

ปีพ.ศ.2541 ในยุควิกฤตเศรษฐกิจคนที่จบวิศวกรรมโยธามาส่วนมากก็จะตกงานหรือไม่ก็ต้องไปไปคุมงานก่อนสร้างที่ เหมือนคุณไผทต้องไปเฝ้าคุมงานปูพื้นปูถนนเงินเดือน ไม่กี่บาท เนื่องจากในช่วงนั้นไม่มีงานก่อสร้างขนาดใหญ่ให้เขาได้คุม จากจุดนี้ทำให้ได้แนวคิดว่า ถ้าเป็นผู้ประกอบการเป็นสิ่งที่น่าจะเหมาะกับตัวเองที่สุด จึงตั้งใจว่าจะเป็นผู้ประกอบการด้านนี้เอง

คุณไผท เชื่อว่าทุกคนมีจุดมุ่งหมายในการทำงานแตกต่างกัน เราควรที่จะเริ่มจากการเข้าใจตนเองก่อนว่าอยากทำเพราะอะไร เมื่อคุณไผทเรียนจบ ก็ได้เข้าไปเริ่มทำงานในบริษัทใหญ่แต่ด้วยความอยากเป็นเจ้าของกิจการเองทำให้เขาลาออก คุณไผท เติบโตมากับการก่อสร้างเพราะรุ่นคุณพ่อทำธุรกิจด้านนี้ทำให้คุณไผท ตัดสินใจเปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้างกับเพื่อน จึงสามารถคุมงานก่อสร้างได้ มีคนงานก่อสร้าง มีรถกระบะ1คัน โดยจึงเปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้างกับเพื่อน

คุณไผทเริ่มทำธุรกิจกับเพื่อนได้ประมาณ 4 ปีแล้วเกิดภาวะเงินหมุนมีปัญหา แม้บริษัทเติบโตแต่เงินเหลือนิดเดียว เพราะการควบคุมต้นทุนไม่ดี มีแนวคิดที่จะ จึงหันไปชวนรุ่นน้องที่เรียนวิศวะคอมพิวเตอร์มาทำอะไรบางอย่างที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น คุณไผทมองเห็นว่าพื้นฐานของผู้ประกอบการที่มีนิสัยคือความต้องการไม่สิ้นสุด คุณไผทจึงคิดว่าเขาจะต้องสร้างเครื่องมือที่ทำให้อุตสาหกรรมก่อสร้างนั้นพัฒนาขึ้นไปได้ เมื่อไม่มีใครทำจึงพัฒนาขึ้นมาเองใน

ปีพ.ศ.2548 คุณไผทได้สร้างซอฟแวร์สำหรับงานวัสดุก่อสร้าง คิดว่าธุรกิจนี้ง่ายและสามารถทำขายได้  นั้นเป็นช่วงลองผิดถูกต้อง ใช้เวลา3ปีถึงกลับมาจุดที่มีรายได้

ปีพ.ศ. 2550 เริ่มมีการประท้วงการเมือง วิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพก่อให้เกิดปัจจัยภายนอกมากระทบอุตสาหกรรมก่อสร้าง จึงนำ ซอฟแวร์ที่ผลิตมาไปขายที่เวียดนามเพราะกำลังเป็นตลาดที่น่าจับตามอง แต่ก็ประสบกับปัญหาขาดทุนสาเหตุมาจากซอฟแวร์ของเขาเหมาะกับบริษัทขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับผู้ประกอบการรับเหมาในเวียดนามนัก ปัญหาเริ่มตามมาอีกตั้งแต่ เริ่มมีคู่แข่งตัดราคาครึ่งหนึ่ง คัดลอกโปรแกรม ลอกโบว์ชัวร์ ตั้งชื่อตามบริษัท แต่ปัญหาอีกเรื่องที่สำคัญคือในช่วงนั้น เวียดนามเพิ่งเปิดประเทศ กฎหมายเปลี่ยนบ่อยทำให้ไม่มีความชัดเจนในการทำธุรกิจ

ปีพ.ศ. 2551 คุณไผท หันกลับมาทำโฟกัสธุรกิจในเมืองไทยแต่ประสบกับปัญหาที่ซอฟแวร์ของเขารองรับตลาดบนแต่กลุ่มที่ต้องการคือกลุ่มของตลาดล่างของกลุ่ม SMEs ทำให้ เขา ได้เปลี่ยนแนวคิดว่าทำอย่างไรที่จะรายได้จากธุรกิจทุกกลุ่มและไม่จำเป็นต้องเป็นตลาดในประเทศไทยเท่านั้น และในปีนั้นคุณไผทได้ทำแผนธุรกิจ BUILK  ส่งเข้าไปประกวดในงานนวัตกรรมวาณิชย์ และได้รับรางวัลในปีนั้นด้วย

ปีพ.ศ. 2551 BUILK เริ่มเปิดตัว ซอฟแวร์ให้บริการฟรีสำหรับผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างกลุ่มSMEs โดยเข้ามาเป็นตัวช่วยในการบริหารก่อสร้าง

ปีพ.ศ. 2555 BUILK  กลายเป็น  Startup ไทยที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน Echelon Satellite ที่จัดขึ้น ณ ประเทศสิงคโปร์ ท่ามกลาง Startup กว่า 300 ทีมจาก 6 ประเทศ  BUILK  มีจุดเด่นด้านการบริหารจัดการในแวดวงอุตสาหกรรมก่อสร้างแล้วสามารถชนะใจคณะกรรมการจากการนำข้อมูล Big Data ของผู้ประกอบการรับเหมามาต่อยอดสร้างโอกาสให้เกิดธุรกิจใหม่เพิ่มขึ้นได้อีก

คุณไผทเริ่มโฟกัสตลาด ASEAN โดยทำการตลาดในเชิงรุก เขาเริ่มจากเรียนรู้สิ่งที่เคยผิดพลาดมาก่อนจึงเริ่มต้นเรียนรู้ธุรกิจก่อสร้างในแต่ละประเทศ  พร้อมหาโอกาสในการทำธุรกิจให้กับสมาชิก BUILK  เช่นมีโครงการเข้าไปเรียนรู้อุปสรรค และโอกาสในการทำธุรกิจก่อสร้างในเพื่อนบ้านเช่น พม่า กัมพูชา เป็นต้น พร้อมเรียนรู้ข้อกำหนดทางกฎหมายด้วย

ปีพ.ศ. 2559 BUILK ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับ บมจ.มิลล์คอนสตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ โดยได้ร่วมกันผลักดันเข้าสู่ E-Commerce เต็มรูปแบบ ด้วยการเพิ่มเงินทุน และสนับสนุนด้านวัสดุก่อสร้าง ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตโดยตรง และเปิดตัวร้านค้าวัสดุออนไลน์ BUILK.COM x Yello ในนามไวรัลที่ว่า “เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง”

 ปีพ.ศ.2560 BUILK ได้เปิดตัว ระบบ JUBILI ระบบบริหารงานขายและความสัมพันธ์ลูกค้า

บริการของ BUILK

  1. Builk Cost Control (โปรแกรมควบคุมต้นทุน) โดยเปิดตัว 2 ฟีเจอร์ใหม่ที่จะมาขยาย Work Flow และเป็นผู้ช่วยในการทำงานที่ฉลาดรวดเร็วมากกว่าเดิม
  2. YELLO  ระบบผู้ช่วยฝ่ายจัดซื้ออุปกรณ์และวัสดุก่อสร้างออนไลน์ หรือเรียกกันเล่นๆว่า ” เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง”
  3. 3. Home & Builk Connect ระบบผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง ออกแบบภายใน รับเหมาก่อสร้าง งานก่อสร้าง
  4. 4. JUBILI  คือ ระบบของร้านวัสดุก่อสร้าง ของ YELLO หรือ” เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง”

 

BUILK ก้าวข้ามอุปสรรคและปัญหามาได้อย่างไร

1.ปัญหาคือโอกาส

จากที่ BUILK ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อตอบโจทย์ของเหล่าผู้ประกอบการก่อสร้างที่อยู่ในนกลุ่ม SMEs ที่มีจำนวนมากแต่ไม่มีงบประมาณมาก BUILK สร้างความแตกต่างคือการเปิดให้บริการฟรีให้กับกลุ่ม SMEs  เพื่อช่วยควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้น อีกทั้งยังมีระบบการจัดการที่ดีตามมาอีกด้วย

2.มีมิตรดีกว่ามีศัตรู

BUILK สร้างพันธมิตรกับบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ พัฒนาสื่อออนไลน์ที่ผู้ประกอบการรับเหมาสามารถเรียนรู้ได้เอง รวมไปถึง การจัดอบรมเรื่องการบริหารจัดการด้านงานก่อสร้าง จากซอฟแวร์ที่ไม่มีคนใช้ กลายเป็นซอฟแวร์ขวัญใจที่ผู้ประกอบการรับเหมาได้แนะนำกันปากต่อปาก

3.Big Data  คือจุดขาย

BUILK ใช้ประโยชน์จากข้อมูล Big Data นำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างประโยชน์กลับไปที่ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างที่เป็นสมาชิกในกลุ่ม เช่น ผู้ประกอบการรับเหมาสามารถบริหารจัดการด้านการเงินได้ดีขึ้น สามารถหาร้านค้าวัสดุก่อสร้างที่ใกล้ที่สุด ในราคาที่เหมาะสมในทันที

4.ตลาดกลางก่อสร้าง

BUILK  เป็นตัวกลางในการจับคู่ให้คนซื้อคนขายมาเจอกัน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะแบบ B2C หรือแบบ B2B  เป็นสื่อให้ผู้ประกอบการรับเหมากับผู้ประกอบการค้าวัสดุก่อสร้างมาทำธุรกิจกันโดยใช้ข้อมูลของ BUILK .ในการช่วยรับรองให้ได้ ถ้าเป็นผู้ประกอบการรับเหมาที่ใช้ BUILK อยู่แล้วจะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้ประกอบการรับเหมาคนไหนมีความน่าเชื่อถือมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับว่า  BUILK จะช่วยรับรองให้แค่ไหน ถ้าเป็นผู้ประกอบการรับเหมาที่ใช้ BUILK อยู่แล้ว ก็จะมีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ

 

บทเรียน BUILK ส่งตรงสู่ SMEs และ Startup

1.อย่าทำตามๆ กันไปแล้วไม่แตกต่าง

สร้างความแตกต่างในธุรกิจของตัวเองเป็นหนทางรอดของ SMEs ถ้าเรามั่วแต่คิดว่าเราเห็นคนอื่นทำแล้วต้องทำตาม ทำให้สินค้าและบริการไม่มีแตกต่างกันเลย มันจะกอดคอกันตายหมู่

กรณี BUILK ธุรกิจของ BUILK เป็นธุรกิจก่อสร้างที่มีเครือข่ายขนาดใหญ่และที่สำคัญคือไม่มีหน้าร้าน นั้นคือความแตกต่างที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร

2.อย่าทำโดยไม่มีไอเดีย

นักธุรกิจ SMEs หลายคนขาดไอเดีย ปัญหานี้สำคัญมาก เพราะหากไม่มีไอเดีย ธุรกิจเกิดยาก และที่สำคัญไอเดียนั้นต้องมาจากความรู้จริงในธุรกิจที่เราทำ แนวทางคิดของการมองหาไอเดียจาก การแก้ปัญหาหรือพัฒนาให้ดีขึ้น จากของเดิมที่มีอยู่และนำมาตีโจทย์ออกมาเป็นธุรกิจให้ได้

กรณี BUILK  คือการพัฒนาซอฟแวร์เพื่อรองรับปัญหาของผู้ประกอบการที่มีเงินทุนไม่มากหรือไม่มีทุน ให้ได้มีระบบจัดการและลดต้นทุนทางธุรกิจก่อสร้าง นั้นทำให้มีผู้เข้าใช้งานเยอะขึ้นหลายหมื่นราย

3.จงเชียวชาญในงานตัวเอง

การเป็นSMEs ที่จะประสบความสำเร็จนั้น สิ่งที่มองข้ามไม่ได้คือเราต้องมีชำนาญและเชียวชาญลงลึกในธุรกิจตัวเอง ถ้ามีแค่ความรู้ผิวเผือนทำให้เราลำบากในการทำธุรกิจ เงินทุนที่น้อยทำให้จ้างคนที่รู้มาทำก็ไม่ได้ ต้องเสียเวลาศึกษาเพิ่มขึ้น และมีโอกาสที่จะล้มเหลวสูง ความไม่รู้จริงทำให้ธุรกิจ SMEs เจ้งไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่

กรณี BUILK คุณไผท ผู้ก่อตั้ง BUILK เป็นผู้ที่อยู่ในแวดวงวัสดุก่อสร้างและงานก่อสร้างมาตลอด ทำให้เขารู้ลึกและกว้างในงานนี้ทำให้เขาพัฒนา BUILK ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจนี้ได้เป็นอย่างดี

บทสรุป BUILK

BUILK เป็นการสร้างแนวคิดใหม่ในวงการก่อสร้างที่ช่วยให้ผู้ประกอบการรับเหมาและร้านวัสดุก่อสร้างได้มาพบกัน เหมือนเป็นคนกลางในการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้บริหารจัดการได้ดีขึ้น อาจจะเรียกว่า Marketplace หรืออาจจะเรียกแบบง่ายๆว่า ตลาดกลางงานก่อสร้าง ก็คงได้ไม่ผิด

BUILK ถือว่าตอบโจทย์ได้ดีสำหรับในยุคที่ทุกอย่างต้องลดต้นทุน ยุดที่ต้องการความรวดเร็ว เมื่อมีตลาดกลางเกิดขึ้น ทุกคนก็จะเข้าไปหาสินค้าและบริการในนั้นไม่ยากแถมตรงตามความต้องการมีความน่าเชื่อถือระดับหนึ่งที่เดียว

ในอนาคต BUILK ยังคงพยายามที่จะมีบริการเพิ่มขึ้นอีกอย่างแน่นอนเพราะในธุรกิจก่อสร้างยังมีความต้องการหลายอย่างที่ยังขาดอยู่ เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์  ธุรกิจรับตกแต่งภายใน เป็นต้น ถ้าเป็นไปตามนี้ BUILK ก็อาจจะกลายเป็นธุรกิจก่อสร้างที่ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศที่ไม่มีร้านของตัวเองแม้แต่ร้านเดียวก็ได้ใครจะรู้