เทรดคริปโตกับกระดานเทรด Zipmex ดีไหม  สำหรับมือใหม่หลายๆ ที่กำลังกังวลถึงความน่าเชื่อถือของกระดานเทรดที่มีชื่อว่า Zipmex วันนี้เรามาทำความรู้จักกับกระดานเทรดคริปโตสัญชาติไทยอีกหนึ่งกระดาน

มาทำความรู้จักกระดานเทรด Zipmex ดีไหม ?

Zipmex ดีไหม

กระดานเทรด Zipmex  ก่อตั้งโดย ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล CEO Thailand and Co-Founder ดร.เอกลาภเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายในภาคธุรกิจการเงินโดยเฉพาะด้านตลาดทุนและสินทรัพย์ชนิดใหม่ เขาเล็งเห็นประโยชน์ของบล็อกเชนและการนำสินทรัพย์ดิจิทัลไปสร้างการเปลี่ยนแปลง จึงต้องการจะส่งต่อประโยชน์ให้กับบุคคลทั่วไป ดร.เอกลาภเคยดำรงแหน่งกรรมการบริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ดร.เอกลาภจบการศึกษาด้านกฏหมายจาก Georgetown Univeristy และ ปริญญาเอกด้านรัฐประศาสนศาสตร์

ร่วมกับ คุณ มาร์คัส ลิม CEO and Co-Founder คุณมาร์คัสมีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้การลงทุนเป็นเรื่องง่าย เขารับผิดชอบการขยายธุรกิจของ Zipmex ไปทั่วทั้งภูมิภาค และยังเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการก่อตั้ง Oneflare.com.au ซึ่งเป็น Startup ที่โตเร็วที่สุดในออสเตรเลีย ซึ่งต่อมาได้ขายธุรกิจดังกล่าวให้กับ Domain Group (ASX:DHG) คุณมาร์คัสยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องด้วยประสบการณ์ที่หลากหลายในสินทรัพย์ดิจิทัล มาร์คัสถูกรับเชิญให้ไปบรรยายให้ Bloomberg, Australian Financial Review, The Business Times (สิงคโปร์) และอื่นๆอีกมากมาย

ข้อดีกระดานเทรด Zipmex

ค่าธรรมเนียมในการเทรด Zipmex เป็นอย่างไร ?

ลงทะเบียนเทรดคริปโต Zipmex อย่างไร ?

ในการเปิดบัญชีใหม่ ขั้นตอนแรกคุณต้องตรวจสอบ URL เพื่อให้มั่นใจว่าคุณได้ใช้งานเว็ปไซต์ของซิปเม็กซ์ที่ถูกต้อง ลงทะเบียน >> ที่นี่คลิ๊ก

คลิก ‘ลงทะเบียน’ ที่มุมบนขวาของหน้าแรก คุณสามารถสร้างบัญชีได้อย่างรวดเร็ว โดยพิมพ์อีเมลและรหัสผ่านที่ต้องการลงทะเบียน

ในการตั้งรหัสผ่าน โปรดทำตาม วิธีการตั้งรหัสผ่านให้ปลอดภัย

  • พาสเวิร์ดควรมีตัวอักษรอย่างน้อย 8 ตัวอักษร
  • ต้องมีอักษรตัวพิมพ์เล็กอย่างน้อย 1 ตัวอักษรและตัวอักษรพิมพ์ใหญ่อย่างน้อย 1 ตัวอักษร
  • ต้องประกอบด้วยตัวเลขอย่างน้อย 1 ตัวเลข
  • ต้องมีสัญลักษณ์อย่างน้อย 1 สัญลักษณ์

โปรดอ่านและยอมรับข้อตกลงในการบริการ และนโยบายความเป็นส่วนตัวของซิปเม็กซ์ก่อนทำเครื่องหมายในช่อง และคลิก “สร้างบัญชี”

ยืนยันตัวตนกับ Zipmex ทำอย่างไร ?

การทำ KYC นี้ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งผ่านระบบออฟไลน์ เช่นการไปทำธุรกรรมที่ธนาคาร เพื่อให้ธนาคารเทียบระหว่างหน้าบัตรกับหน้าจริง ๆ ของเรา หรือว่าทางออนไลน์ที่เรียกว่า E-KYC ขั้นตอนแรกมักจะเริ่มต้นด้วยการเก็บข้อมูลของลูกค้า เช่น ชื่อ เลขประจำตัวประชาชน วันเกิด หรือที่อยู่ โดยเลเวลความเข้มข้นของการทำ KYC นั้นก็มีหลายรูปแบบ แล้วแต่ธรรมชาติและความจำเป็นของธุรกิจนั้น ๆ เช่น

  • การยืนยันตัวตนด้วยเอกสาร ที่ผูกกับตัวเรา แต่ว่าไม่จำเป็นต้องเห็นตัวเราก็ได้
  • การวิดีโอคอล หรือ ยืนยันด้วยตัวเราเป็น ๆ คู่กับเอกสาร
  • การตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบที่มาของเงินได้ ความเกี่ยวข้องกับกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ เช่นบุคคลทางการเมือง หรือ ผู้ก่อการร้าย

หลังจากทำ KYC แล้ว เราก็จะมีกระบวนการที่เรียกว่า CDD หรือ Customer Due Diligence ตามมา โดย CDD คือการตรวจสอบข้อมูลให้ลึกมากขึ้นไปอีก เช่นตรวจสอบประวัติธุรกรรมทางการเงิน เช็กประวัติกับกลุ่มที่มีความเสี่ยง เช่น กลุ่มคนที่เคยมีประวัติคอรัปชัน ฟอกเงิน หรือว่าเกี่ยวข้องกับนักการเมือง

การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาจากการยืนยันตัวตนนั้น ก็มีทั้งการตรวจสอบด้วยคนจริง ๆ อย่างการที่พนักงานเอาบัตรประชาชนมาเทียบกับหน้าเราว่าเป็นคนเดียวกันจริงหรือไม่ หรือว่าการใช้ระบบตรวจสอบ อย่างที่ประเทศจีนสามารถใช้การสแกนหน้าเพื่อจ่ายเงินที่ร้านต่าง ๆ ได้แล้วนี่เอง หลังจากนั้นธนาคารก็จะสามารถประเมินความเสี่ยงของลูกค้าได้ต่อไป

การประเมินความเสี่ยงนี้ไม่ได้จบลงเมื่อเราเปิดบัญชีธนาคารหรือว่าเริ่มใช้บริการ แต่ว่าธนาคารหรือองค์กรต่าง ๆ ก็จะมีการประเมินและคำนวณความเสี่ยงเป็นระยะเพื่อระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทำที่ผิดกฎหมายหรือเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและองค์กรเอง