ไทยใช้ AI กับการแพทย์ช่วยสร้าง Wellness Hub ของโลก

สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจได้รายงานเรื่องดันไทยเป็นฮับสุขภาพ ดึง AI เพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน แก้ปัญหาบุคลากรขาด โดยมีรายละเอียดดังนี้

AI ตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ-ลดต้นทุน

คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัทกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป กล่าวว่าโอกาสด้านเฮลท์แคร์ในไทยยังมีอีกมาก เพราะตลาดภายในประเทศมีขนาดใหญ่จึงสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ได้ทั้งหมด เพื่อพัฒนาคุณภาพและลดต้นทุนได้ซึ่งปัญญาประดิษฐ์จะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพของแพทย์ให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นช่วยเพิ่ม Productivity ลดต้นทุนและทำให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น

สร้างระบบนิเวศเชิงสุขภาพ

เช็คเบี้ยประกันสุขภาพได้ที่นี่ คลิ๊ก 

ไทยยังมีข้อจำกัดในเรื่องของจำนวนบุคคลากรทางการแพทย์ที่ยังไม่เพียงพอ หากในอนาคตเราสามารถให้บริการแบบ 1 ต่อ 1 ตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ต้องส่งต่อหลายทอดได้จะเป็นสิ่งที่ดี วิธีการที่จะทำให้เราสามารถผลักดันระบบการดูแลผู้ป่วยดังกล่าวอาจจำเป็นต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มที่มีการสร้างให้เป็น Ecosystem เชิงสุขภาพที่มีการรวบรวมการให้บริการทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันจึงจะช่วยลดปัญหาการส่งต่อผู้ป่วยหลายทอดหรือข้ามพื้นที่ได้

THG เดินหน้ายกระดับเฮลท์แคร์

นายแพทย์ ธนาธิป ศุภประดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG กล่าวว่า Thailand Medical Hub และ Sustainability เกี่ยวข้องในภาคการแพทย์ถึง 4 แขนงคือ

  1. Medical Service Hub การแพทย์และบริการที่เกิดในโรงพยาบาล ขับเคลื่อนโดยหมอและพยาบาลซึ่งมีทั้งคนไข้ในประเทศและคนไข้ต่างประเทศที่บินตรงเข้ามารักษาในประเทศไทยจำนวนมาก
  2. Wellness Hub เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพที่เกิดนอกโรงพยาบาลและมีความสำคัญทางตรงกับ General tourism
  3. Academic Hub เป็นบทบาทของโรงพยาบาลขนาดใหญ่และวิทยาลัยการแพทย์ซึ่งหากไม่มีสถาบันเหล่านี้ก็จะไม่มีหมอเก่ง ๆ ที่สามารถรักษาโรคซับซ้อนได้
  4. Product Hub อุตสาหกรรมและธุรกิจการผลิตยา,สมุนไพรเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและเพื่อส่งออกเป็น global business ของภาคอุตสาหกรรม

โดยแพทย์และพยาบาลไทยมีความสามารถในการรักษาโรคยาก ๆ จึงทำให้สามารถรองรับ Medical Tourism ได้และสร้างโมเมนตัมทางเศรษฐกิจต่อมาซึ่งจากตอนแรกที่เชื่อว่ากันว่าหากโปรโมต Medical Tourism จะทำให้แพทย์เลือกที่จะหันไปรักษาคนต่างชาติมากกว่ารักษาคนในประเทศ แต่ในปัจจุบันพิสูจน์แล้วว่าความเชื่อนี้ไม่เป็นจริงเพราะเมื่อคนไทยมีสุขภาพดีทำให้หมอ พยาบาลเก่งขึ้นสามารถรักษาโรคยาก ๆ ได้มากขึ้น Medical Tourism ก็จะมี Resource ที่จะใช้ขับเคลื่อน Medical Hub ต่อ

หนุนสร้างความมั่งคั่งแบบยั่งยืน

Healthcare เป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แรงงานทักษะเฉพาะและใช้จำนวนบุคลากรจำนวนมากเพราะฉะนั้นการรักษากำลังการผลิตเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรปล่อยให้บุคลากรที่มีทักษะหรือประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยหรือมีความสามารถในการรักษาโรคยาก ๆ ต้องหายไปจากระบบ ซึ่งสำหรับปัจจุบันตัวเลขรวมของเฮลท์แคร์อยู่ที่ 5% ของ GDP แต่เชื่อว่าเฮลท์แคร์สามารถไปได้ไกลถึง 20% ของ GDP แต่การจะโตได้ถึงขนาดนั้นจะต้องมีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาต้องจ่ายเงินค่าดูแลสุขภาพร่วมกับภาครัฐ โดยในปัจจุบันเรายังไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เพราะฉะนั้นในเรื่องของ Medical Tourism ถ้าไม่มีบุคลากรที่มีความชำนาญหรือรักษาโรคยาก ๆ ได้ ไทยก็จะไม่สามารถสู้กับประเทศที่รํ่ารวยที่มีการรักษาจำนวนแพทย์และพยาบาลที่มีความสามารถที่จะรักษาโรคยาก ๆที่ซับซ้อนได้ในที่สุด

ที่มา: https://www.thansettakij.com/health/wellbeing/557739

ประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องไทยใช้ AI กับการแพทย์ช่วยสร้าง Wellness Hub ของโลก

เช็คเบี้ยประกันสุขภาพได้ที่นี่ คลิ๊ก 

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเป็นอย่างมากในเรื่องของระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งสะท้อนให้เห็นเมื่อคราวที่สถานการณ์โควิดอยู่ในภาวะตึงเครียด บุคลากรทางการแพทย์ของบ้านเราคือฮีโร่สำคัญที่ทำให้เราผ่านพ้นสถานการณ์เลวร้ายนั้นมาได้จนได้รับการยอมรับไปทั่วโลก

แต่ไม่ใช่ว่าประเทศไทยจะโดดเด่นแค่เฉพาะในช่วงสถานการณ์โควิดเท่านั้นเพราะในความเป็นจริงแล้วประเทศไทยกำลังพยายามผลักดันการเป็นฮับสุขภาพมาตั้งแต่ก่อนการระบาดของโควิดจนได้รับการยอมรับจากชาวต่างชาติที่ต่างก็พากันบินเข้ามารักษาความเจ็บป่วยกันถึงประเทศไทย เหตุที่เป็นเช่นนี้นั่นก็เพราะโดยพื้นฐานของบุคลากรทางการแพทย์ไทยมีโอกาสได้เรียนรู้เคสยาก ๆ จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดกันในโรงเรียนแพทย์ ทำให้บุคลากรของเรามีความสามารถจนเป็นที่ยอมรับในระดับสูง ปัญหาในเรื่องความสามารถจึงไม่ใช่ปัญหาที่มาขัดขวางการมุ่งสู่การเป็นฮับทางด้านสุขภาพ

แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือการขาดบุคลากรทางการแพทย์ที่มีประสบการณ์และมีความรู้ในระดับสูง ซึ่งปัญหาหลักมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่หนึ่งในปัญหาที่สำคัญก็คือความรู้สึกถึงความไม่มั่นคงของบุคลากรทั้งในเรื่องค่าตอบแทนและอื่น ๆ ปัญหานี้ทำให้เราต้องสูญเสียบุคลากรที่มีประสบการณ์และมีคุณภาพออกไปจากระบบไม่น้อย

แม้จะมีการขบคิดกันว่าควรนำ AI เข้ามาเพื่อทดแทนปัญหาการขาดแคลนบุคลากร แต่ AI สามารถเข้ามาอุดรอยรั่วได้เพียงบางเรื่องเช่นการเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลด้วยการแชร์ข้อมูลระหว่างทีมบุคลากรรวมถึงทำให้การส่งปรึกษาปัญหาของผู้ป่วยระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ง่ายขึ้น แต่ในเรื่องของหัตถการบางประเภทนั้น AI ไม่สามารถเข้ามาทดแทนได้เลย การขาดแคลนบุคลากรในสายปฏิบัติการจึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐควรให้ความสำคัญเช่นกัน

ดังนั้นหากเมืองไทยต้องการผลักดันตัวเองขึ้นเป็นฮับด้านสุขภาพภาครัฐควรเริ่มพัฒนาทั้งระบบ AI ให้เข้ามาช่วยลดภาระงานและเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ขณะเดียวกันก็ควรมีมาตรการจูงใจเพื่อไม่ให้ต้องเสียบุคลากรในสายปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญออกไปจนเกิดเป็นรอยโหว่สำคัญทำให้เราไม่อาจไปถึงฝั่งฝันได้สำเร็จ