อาชีพที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์ และ ศิลป์ เข้าช่วยเริ่มเห็นได้มากขึ้นในปัจจุบัน บางครั้งการรอ อารมณ์ศิลปินในตัว ให้ได้ที่แล้วผลิตผลงานออกมา อาจจะช้าเกินไปสำหรับ กำหนดส่งงานอันใกล้ ยังไม่นับรวมปัจจัยกดดันอีกหลายอย่างจากสิ่งรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็น เจ้านาย หัวหน้า ลูกค้า
.. 7 วิธีเผยเคล็ดไม่ลับ ช่วยคุณผลิตไอเดียได้ทันเวลา ส่งงาน อย่ารอช้า..ไปดูกันเลย
  1. หนีจากงาน : เป็นข้อแนะนำที่ดีที่สุด กับงานที่กำลังเคร่งเครียด และคิดไม่ออก ภาวะกดดันมากเกินไปทำให้สมองของคุณไม่ผ่อนคลาย ทำให้  ไม่ได้ใช้ข้อมูลในหน่วยความจำต่างๆในสมองอย่างมีประสิทธิผลมากกว่านี้  การพักผ่อน หรือผ่อนคลายด้วยกิจกรรมสักอย่าง จะช่วยเติมพลังความคิดดีๆของคุณได้
  2. เสพสิ่งสื่อสาร : เข้าอินเตอร์เนต เป็นสิ่งที่น่าใช้มากที่สุดในการหาความรู้ คุณสามารถย่อโลกมาไว้เพียงปลายนิ้ว หรือจะเปิดหนังสือ ดูนิตยสาร แมกกาซีนเล่มโปรด เพื่อความผ่อนคลาย และสะดุดตากับไอเดียใหม่ๆก็เป็นไปได้
  3. เดิน : ในเมื่อคุณหนีออกมาจากงานแล้ว ควรหาที่เดินเล่นสักหน่อย การเดินกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และทำให้แก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเดินท่ามกลางธรรมชาติ แต่ .. ถ้าพื้นที่คุณมีข้อจำกัด ไม่มีธรรมชาติให้ได้สัมผัส อย่างน้อยคุณเดินไปที่กระถางเล็กๆ หรือเลือกที่จะ เดินไปปากซอย เดินไปชั่นล่าง ขอให้มีการเคลื่อนไหวเป็นใช้ได้
  4. กิน : หลายครั้งเคยได้ยินว่า ถ้าเครียดก็แก้ด้วยการกิน ถึงจะกลายเป็นข้ออ้างของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น แต่การกิน เป็นตัวช่วยผ่อนคลายและเป็นการเสริมพลังงานที่ดีให้กับความคิดเช่นกัน เหมือนกับประโยคยอดฮิตที่ว่า “ กองทัพต้องเดินด้วยท้อง”
  5. พูดคุย : การได้พูดคุย กับสิ่งรอบข้าง ไม่จำกัดว่าต้องเป็นมนุษย์ ช่วยให้สมองส่วนการเรียบเรียงได้ทำงาน เพราะการพูดของเรา จะต้องเกิดจากการมีข้อมูล และตัวเราเข้าใจสิ่งนั้นว่า คืออะไร อาจจะเป็นคำถาม หรือข้อสงสัยก็ได้  แปรผลการสื่อสารของร่างกายผ่านคำพูด อย่างน้อยเราจะรู้ตัวว่า เรามีอะไรในหัวบ้างกันแน่  วิธีนี้คุณสามารถพูดคนเดียวก็ได้  ลองสังเกตุผู้คนที่คิดงานไม่ออกแล้วมักพูดคนเดียว มันไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาด แค่เค้าคนนั้นกำลังเรียบเรียงข้อมูลที่มีอยู่ต่างหากหละ
  6. เขียน : เป็นการอธิบาย แบบสรุปข้อมูลที่เรากำลังค้นหา คำถามที่เราสงสัย ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ส่วนหนึ่งอาจเพราะ หากเราเขียนเยอะ ก็จะเมื่อย เราจึงพยายามสรุปเป็นประโยคให้ได้แล้วเขียน หรือจด ลงไป อย่างหนึ่งเพื่อเตือนความจำ และเมื่อเราย้อนกลับไปอ่านที่จดบันทึกไว้ จะสามารถเห็นภาพรวมสิ่งที่เราต้องการสื่อสารได้มากขึ้น
  7. อ่าน : การอ่านสิ่งที่เราจดบันทึกนั่นแหละ คือ การกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์อีกอย่างหนึ่ง เพราะเป็นการสรุปอีกครั้งของข้อมูลที่เรามี เป็นสิ่งทบทวนที่ดี เราสามารถรู้ได้ว่า ขาดตกส่วนไหน หรือ ดูมากเกินขอบเขตงานไปหรือไม่

ไอเดียทั่วไปมักเกิดตอนมีอารมณ์ แต่ไอเดียสำหรับมืออาชีพย่อมเกิดจากการฝึกฝน…ไอเดียฝึกได้ ความคิดสร้างสรรค์พัฒนาได้ เริ่มเลยครับ !!! หากไม่คิด คนอื่นคนเราจะตามเขาไม่ทัน