สวัสดีทุกท่านค่ะ บทความนี้เป็นบทความแรกของ #เด็กเต็ก ?
ต่อไปจะมาเขียน มาแชร์บทความแนวสายศิลป์ สายอาร์ต
ในมุมมองของสถาปนิกที่เป็นทั้งผู้บริโภค และนักออกแบบที่พอมีความรู้พื้นฐานบ้าง
เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการสื่อสารที่สวยงาม และน่าสนใจของหน้าร้านตั้งแต่แรกเห็นนะคะ
ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยค่ะ ดูติดขัดจุดไหน ประการใดขออภัย ณ ที่นี้นะคะ 🙂


.
ปัจจุบันช่องทางการชอปปิ้งออนไลน์มีเยอะมากขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคหรือแม้แต่ร้านค้า แบรนด์ต่างๆก็เปลี่ยนไป
หันมาจับช่องทางออนไลน์มากขึ้นเป็นแถวแนว ในกรณีร้านที่เป็นแพทเทริ์น แพลตฟอร์มอยู่แล้วตาม App , Website ต่างๆ
จะมาเขียนในครั้งต่อไปนะคะ >>> ครั้งนี้ขอเป็นหน้าร้านที่ใช้กันเยอะมากที่สุด แถมใกล้ตัวและเปิดง่ายที่สุดก่อนค่ะ
Facebook Fanpage นั่นเอง
*ถึงจะมีการปรับสิ่งต่างๆของพี่มาร์คก็ตาม แต่ใช่ว่าจะไม่มีคนเห็นหน้าเพจเลย
ดังนั้นเห็นครั้งเดียว ควรจำได้ง่าย … แล้วจะทำยังไงให้คนจำได้ง่าย ตามไปดูเทคนิคในมุมมองของนักออกแบบกันเลยค่ะ
?
1. ก่อนจะไปออกแบบต้องตั้งแนวการโพสต์ หรือขอใช้คำว่า จุดยืนพื้นฐานของเพจก่อน
เน้นไปทางด้านไหนเป็นหลักเช่น เพื่ออะไร กลุ่มไหนที่ต้องการให้มาซื้อ รูปแบบ หน้าตาภาพรวมคืออย่างไหน
ต้องรู้จักจำกัดวงของลูกค้า 18-24 ปี กับ 25-34 ปี รูปแบบที่ออกมาก็ไม่เหมือนกันแล้วค่ะ
ถึงจะเป็นสิ่งที่ลูกค้าสนใจเหมือนกันก็ตาม เช่นสนใจในแฟชั่นและเครื่องแต่งกาย 2 ช่วงก็มีความแตกต่างแล้ว
ดังนั้น ถ้าเรารู้จักลูกค้า และจุดยืนของเพจตัวเอง การออกแบบต่อไปก็ง่ายขึ้นแล้วค่ะ

2. หยิบสีโดดเด่น ขอใช้คำว่า Theme ( ธีม ) นึกถึงตอนไปงานแต่ง งานเลี้ยง มักมีกำหนดสีและแนวแต่งตัว
ตอนหาซื้อ หาใส่ก็ง่ายกวาตอนไม่รู้อะไรเลย ถูกไหมค่ะ การเลือกสีประจำให้กับหน้าร้านก็เช่นกัน
เรื่องขั้นตอนเลือกสี จะเอาแบบถูกโฉลก ตรงโหวงเฮ้ง ก็ได้เลยเต็มที่เพียงแต่ให้เข้ากับรูปแบบสินค้าหรือบริการที่นำเสนอ
ใช้สีนั้นๆ (ซึ่งควรมีไม่เกิน 3 สี เพราะจดจำได้ง่ายที่สุด) มีส่วนรวมในรูป ในโพสต์เสมอ สามารถใช้สีอื่นๆได้นะคะ
ใช้สีหลักที่กำหนดไว้บ่อยๆ ภาพรวมของเพจก็จะไม่กระโดดไปมา ดูเป็นแพทเทริ์น จดจำได้ง่าย

3. ใช้ Font (ฟอนต์) เดียวกันเสมอ เพราะลูกค้าเห็นที่ไหนจะได้จำง่าย
เลือกใช้แบบเดียว ขนาดอักษรใน 1 โพสต์ 1 รูป ไม่ควรเกิน 3-4 ขนาด
จริงอยู่เราอาจจำสีเยอะๆ หลายๆแบบได้เพราะแตกต่าง ( ขอใช้คำว่าแทงตา )
แต่ลองคิดกลับกันดู ว่าเราจะใช้จ่ายกับร้านค้าหรือบริการแบบไหนกันคะ ?

** รูปแบบสีเยอะๆ ดูแตกต่าง โดดเด่นสามารถนำมาใช้เพื่อสร้างความน่าสนใจ หวือหวา แปลกตาได้ค่ะ
แต่ควรเลือกเวลาที่ใช้ ถ้าใช้ตลอดเวลาก็จะเป็นรูปแบบธรรมดาอย่างหนึ่งเท่านั้น

4. องค์ประกอบและการจัดวางของในโพสต์ / ในภาพ
ปกติคนไทยอ่านหนังสือจากซ้าย ไป ขวา สายตาจะไล่จากซ้าย ไป ขวา เสมอ
อยากนำเสนออะไรก่อนให้วางไว้ที่มุมซ้าย เช่นเห็นภาพก่อน หรือ รายละเอียดคุณสมบัติ
ต้องเลือกว่าจะให้อะไรเด่น ภาพ หรือ ตัวหนังสือ ให้คนจำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้

และตัวหนังสือไม่ควรมีเยอะเกินไป ? จั่วหัวน่าสนใจ
ไม่ใช่เพราะโควต้าอ่านไม่เกิน 8 บรรทัด แต่ผู้บริโภคในโลกยุคปัจจุบัน
ตัดสินใจเร็วไม่ถึง 3 วินาทีที่จะสไลด์ผ่าน

5. ภาพหลัก ภาพรอง เราควรเลือกภาพที่เป็นไฮไลท์ ซิกเนเจอร์ หรือที่ใช้บ่อยจนติดตา
อาจเป็นโลโก้ หรือภาพแนวนี้ หรือนางแบบคนเดิมๆ
(กรณีที่ไม่ได้จ้างพรีเซนเตอร์ ก็กำหนดคาแรคเตอร์ของภาพที่จะใช้ก็ได้ค่ะ
เช่น จะใช้รูปเฉพาะสาวเกาหลีผมสั้น แนวออลซาง หรือ สาวฝรั่งผมทองยาวลุคสปอร์ตเกริ์ล)
ส่วนภาพรอง ก็ควรไปตามกันกับภาพหลักที่เราใช้
การโพสต์รูปแต่ละครั้ง อาจเลือกรูปที่ปัง และสะดุดตามากที่สุดแค่รูปเดียว
หรือ จะโพสต์ทีละหลายรูปก็ได้แต่ ในหลายรูปก็ควรมีหลายมุมมองให้เห็นภาพรวมของสินค้าหรือบริการนั้นๆ
?

เรื่องงานศิลปะ เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิดลองทำ ลองปรับใช้กันดูค่ะ
ถ้านึกไม่ออกก็ดูงานตัวอย่างให้เยอะๆ เราจะคิดออกเอง
* ไม่ได้หมายความว่าให้ COPY นะคะ *
เพราะมี INPUT เราถึง OUTPUT ออกมาได้
อยาก OUTPUT หน้าร้านออกมาในรูปแบบไหนก็เลือกแบบที่ต้องการ INPUT เข้าไปเยอะๆ
จะช่วยได้ค่ะ ?

แล้วพบกันใหม่ในบทความต่อไปนะคะ ?