เศรษฐกิจไทย 2566 ยังทรุดเสี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อเฟดยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง

สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจได้รายงานเรื่องไทยยังตกอยู่ในความเสี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อเฟดยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่องโดยมีรายละเอียดดังนี้

ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทยและกรรมการรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ กล่าวในงานเปิดตัวหลักสูตร WEALTH OF WISDOM : WOW#2 ในหัวข้อ “พลิกโอกาสตลาดทุนไทย 2023” โดย ดร.กอบศักดิ์แสดงความเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2566 ซึ่งถือเป็นวิกฤตปีที่ 2 จากที่คาดว่าจะอยู่ราว 3 ปี (2565-2567)

ผลกระทบที่เริ่มเห็นได้อย่างชัดเจนคือตัวเลขการส่งออกของไทยที่มีการชะลอตัวรวมถึงผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงในขณะที่เศรษฐกิจโลกเองก็ชะลอตัวด้วยเช่นกันและยังมีโอกาสประสบกับความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยในช่วงกลางปีที่จะเกิดขึ้นในฝั่งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และลาตินอเมริกา แต่ในส่วนของเอเชียยังรอดพ้นจากภาวะนี้ไปได้เพราะจีนได้พยายามจบปัญหาโควิดและพยายามที่จะกลับมาเปิดประเทศเร็วขึ้นโดย IMF คาดเศรษฐกิจจีนปีนี้จะเติบโตถึง 5.2 %

การกลับมาของจีนเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2566 และมีการคาดกันว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตขึ้นในระดับ 3%เพราะแม้ว่าการส่งออกจะชะลอตัวแต่การท่องเที่ยวกำลังกลับมาช่วยเป็นฟันเฟืองที่สำคัญและมีโอกาสที่นักท่องเที่ยวจะกลับเข้ามาเกิน 25 ล้านคน

ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยยังอยู่ในระดับต่ำเพราะธนาคารแห่งประเทศไทยยังใช้มาตรการขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำให้แม้ธุรกิจจะได้รับผลกระทบแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สามารถปรับตัวได้

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศยังอยู่ในระดับตํ่า การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ยังขึ้นแบบค่อนค่อยเป็นค่อยไป มองว่าจากระดับ 0.5% ไปที่ 2% ขยับขึ้นแค่ 1.5% หากรวมดอกเบี้ย FIDF 0.4% ซึ่งธุรกิจไทยถูกกระทบบ้างแต่ไม่มากและปรับตัวได้ส่วนเงินทุนสำรองต่างประเทศของไทยถือว่าอยู่ในระดับสูงซึ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนว่าหากเกิดวิกฤตกลางปีประเทศก็ยังคงมีเงินสำรองเอาไว้รับความเสี่ยงได้

3 ปัจจัยที่ควรจับตาว่าอาจกระทบเศรษฐกิจของปีนี้

1.ค่าเงินบาทยังคงมีการผันผวนตามค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปีก่อนเงินบาทอ่อนค่าลง 12% เมื่อเทียบสกุลเงินในประเทศเกิดใหม่ แต่กลายเป็นว่าตั้งแต่ต้นปี 2566 เป็นต้นมาเงินบาทกลับแข็งค่ากว่าประเทศเกิดใหม่ประมาณ 13.70% จากการท่องเที่ยวฟื้นตัวนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาแลกเงินบาทมากขึ้น การที่เงินบาทแข็งค่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยของไทยโดยตรง ซึ่งขณะนี้ ดร.กอบศักดิ์มองว่าเงินบาทยังอ่อนค่าได้อีกระยะหนึ่ง

2.กระแสเงินลงทุนต่างชาติ ที่มองว่าปีนี้เป็นปีที่เงินลงทุนไหลออกทั้งจากตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยไม่ใช่เป็นเงินลงทุนไหลเข้าเหมือนปีก่อน เพราะปีที่แล้วไทยเคยถูกมองเป็น safe haven แต่ปีนี้เป็นโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติจะกลับไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง

3.ปัจจัยเสี่ยงในประเทศซึ่งมีการคาดการณ์กันว่าการเลือกตั้ง ครั้งนี้ไม่ง่ายและหลังจากการเลือกตั้งก็อาจมีการตกลงบางอย่างที่ทำให้เกิดความไม่มั่นใจได้อยู่

นอกจากปัจจัยในประเทศก็ไม่ควรมองบ่ามปัจจัยต่างประเทศที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจซบเซาหรือถดถอยในบางประเทศโดยเฉพาะในฝั่งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และลาตินอเมริกา ผลกระทบของวิกฤติประเทศเกิดใหม่และการฟื้นตัวของสินทรัพย์ต่างๆ ยังคงผันผวนตามการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด

ในระยะอีก 1-2 ปีข้างหน้าคาดว่าเงินเฟ้ออาจจะยังส่งผลให้มีการปรับเพิ่มดอกเบี้ยได้อีกระยะหนึ่งสอดคล้องกับสัญญาณเฟดว่าปี 2566 จะขึ้นดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 0.75% หรือใช้วิธีการขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับปกติ 0.25% ไปเรื่อย ๆ จากล่าสุดอยู่ที่ 4.5-4.75% และมีการปรับขึ้นไปแล้วเมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ 0.25% และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นอีก 3 ครั้ง ครั้งละ 0.25% ในช่วงปีนี้เพราะทางเหดเองส่งสัญญาณจากการประชุมครั้งล่าสุดว่าพร้อมจะสู้เงินเฟ้อต่อจนเสามารถกดลงมาที่เป้าหมาย 2% ให้ได้และหลังจากนั้นเฟดจะคงดอกเบี้ยไปประมาณอย่างน้อย 11 เดือนเมื่อเงินเฟ้อเริ่มลงแล้วจึงค่อยปรับลดดอกเบี้ยในช่วงกลางปี 2567

ดร.กอบศักดิ์กล่าว่าในความผันผวนทั้งหมดของปีนี้เป็นโอกาสในการที่จะลงทุนแต่ต้องเลือกลงทุนในสินทรัพย์พื้นฐานที่เคยแย่ในปีก่อนและยังมีโอกาสเติบโตโดยควรทะยอยซื้อและถือไว้ 2-3 ปีจะมีโอกาสในการทำกำไรได้ดีกว่า แต่อาจต้องรอให้เฟดคงที่อีกสักระยะหนึ่ง

ที่มา: https://www.thansettakij.com/business/economy/557845

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจในเรื่อง เศรษฐกิจไทย 2566 ยังทรุดเสี่ยงวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อเฟดยังคงขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง

เทรด forex ให้ได้วันละ 1000 บาท

ในปีนี้ยังเป็นอีกปีหนึ่งที่สภาวะเศรษฐกิจในประเทศยังมีปัจจัยต่าง ๆ เข้ามาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไม่น้อยทั้งปัจจัยภายนอกคือการประกาศขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ภาคการส่งออกจากเศรษฐกิจชะลอตัวในหล่ยประเทศคู่ค้าสำคัญของเรารวมไปถึงการเลือกตั้งภายในที่หลายคนยังลุ้นอยู่ว่าจะจบลงในทิศทางเช่นไร ทุกอย่างนี้คือปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจของเราได้ทั้งสิ้น

ในฐานะคนทั่วไป เราเองก็ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจที่อาจถดถอยได้อีกเช่นนี้ด้วย การวางแผนการเงินส่วนบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจทำให้เราผ่านพ้นวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นนี้ได้ ระมัดระวังการใช้จ่ายโดยเฉพาะการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เราสามารถผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปให้ได้

ในฐานะของนักลงทุนคุณจำเป็นต้องติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดเพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาประกอบการลงทุน อย่าหวังลงทุนเพียงฉาบฉวยน่าจะทำให้การลงทุนของคุณประสบความสำเร็จในช่วงเวลานี้

การเตรียมความพร้อม เตรียมตัวเองเพื่อรับมือกับสภาวะเศรษฐกิจน่าจะเป็นสิ่งที่คุณควรทำ ตระหนักแต่ไม่ตระหนกดูจะเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่สุดแล้วในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้