7 เทรนด์เทคโนโลยีสุขภาพ ตอบโจทย์การแพทย์สมัยใหม่ ช่วยดูแลสุขภาพคนไทย

สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจได้รายงานเรื่อง 7 เทรนด์เทคโนโลยีการแพทย์ที่จะเข้ามาช่วยคนไทยให้ได้รับบริการสุขภาพทั่วถึงโดยมีรายละเอียดดังนี้

นพ.สุนทร ศรีทา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรวมใจรักษ์กล่าวถึงเทรนด์ของเทคโนโลยีทสงการแพทย์ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์สะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพในการดูแลรักษาพยาบาลโดยมีทั้งหมด  7 เรื่อง ได้แก่

1.เอไอ(AI)

เทคโนโลยี AI ถูกนำมาใช้หลายปี ทั้งการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่เอกซเรย์ที่จะช่วยให้แพทย์ได้มองเห็นจุดบกพร่องต่าง ๆ สามารถช่วยไกด์เป็นแนวทางให้แพทย์ว่าอาการและผลตรวจต่าง ๆ มีโอกาสเข้าข่ายที่จะเป็นโรคอะไรได้บ้างทำให้แพทย์มีความรอบคอบมากขึ้นในการตรวจวินิจฉัย ในขณะที่การรักษา การเลือกใช้ยา AI จะช่วยไกด์ว่าถ้าใช้ยาตัวนี้ไม่ควรใช้ซ้ำกับยาตัวไหนที่จะไปมีผลระหว่างกันจนทำให้ผลการรักษาลดลง

2.Data Breach Prevention

หรือการป้องกันการละเมิดข้อมูลออนไลน์เป็นสิ่งที่โรงพยาบาลต้องระมัดระวังเพราะในช่วงที่ผ่านมามีการแฮกข้อมูลในโรงพยาบาลมากพอสมควร โดยจะโดนโจมตีด้วยไวรัสซึ่งทำให้ระบบไม่เสถียร ปัจจุบันมีการพัฒนาจากเดิมที่ใช้พาสเวิร์ด  มัลติล็อก สแกนนิ้วมือแต่เทคโนโลยีล่าสุดคือการใช้ Facial recognition หรือเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า โดยเฉพาะ 2 ปีที่ผ่านมา แพทย์ พยาบาล ต้องใส่หน้ากากอนามัยทำให้สแกนใบหน้าไม่ได้ก็มีการพัฒนาเป็น Facial recognition with masks มาใช้แทน

เช็คเบี้ยประกันสุขภาพได้ที่นี่ คลิ๊ก 

 3.นาโนเมดิซีน

โดยนำมาใช้ในเทคโนโลยีการผลิตยา โดยเฉพาะ precision medicine หรือยาที่ใช้รักษาโรคหลายอย่างเพราะบางกลุ่มให้ยาตัวนี้ได้ผลแต่บางกลุ่มให้ยาตัวเดียวกันไม่ได้ผลจึงต้องมีการทดสอบระดับยีนว่าจะมีการตอบสนองต่อยาชนิดใดมากกว่า ดังนั้นการให้ยาในคนไข้แต่ละรายถ้ารับยามาตรฐานไม่ได้อาจจะต้องทดสอบยีนเพื่อหายาที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่เป็นมะเร็งที่มีการให้ยาเฉพาะหรือ Targeted therapy จะทำการให้รู้ว่ายาตัวไหนเหมาะกับผู้ป่วย

 4. Internet of Medicl Things (IoMT)

จากที่เคยใช้กับอุปกรณ์ในบ้าน ในปัจจุบันทางการแพทย์เครื่องมือแพทย์ชิ้นใหญ่ ๆ สามารถเชื่อมต่อกับระบบส่วนกลางเพื่อส่งข้อมูลทั้งหมดกลับเข้าสู่ฐานข้อมูลส่วนกลางได้ทั้งหมดทำให้การดูแลคนไข้ดีขึ้นเรื่อย ๆ มีการพัฒนาระบบเครือข่ายที่เป็น 5G ให้รองรับการใช้งานอย่างเสถียรมากขึ้น

5.Teleconsultation และ Telemedicine

เป็นเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ทั้งการวินิจฉัยทางไกลโดยที่แม้คนไข้จะอยู่ที่บ้านแต่ก็สามารถเห็นข้อมูลสุขภาพของคนไข้ได้ทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันโรงพยาบาลหลายแห่งทำทั้งการให้คำปรึกษาทางไกล(Teleconsultation) และ การแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ช่วยให้การดูแลคนไข้มีความสะดวกลดการเดินทางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6. Big Data

เทคโนโลยีนี้มีความสำคัญมากเนื่องจากในแต่ละปีมีจำนวนคนไข้เข้ามารับบริการในโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนรวมกันเกือบ 200 ล้านvisit ต่อปี ข้อมูลเหล่านี้กลับกระจายและยังไม่สามารถเชื่อมโยงเป็นฐานข้อมูลของประเทศได้ ทำให้เสียโอกาสในการวางแผนระบบสาธารณสุข การดูแลป้องกันโรคให้มีประสิทธิภาพได้ หากโรงพยาบาลมีฐานข้อมูลส่วนกลางร่วมกันจะช่วยในการวางแผนจัดการได้ดีขึ้น

7.VR,AR และ Mixed Reality in Healthcare

จะเข้ามาช่วยในการเรียนรู้และช่วยเข้ามาฝึกอบรมบุคลากรทำให้มีการพัฒนา เกิดการเรียนรู้และการดูแลรักษาคนไข้ได้มากยิ่งขึ้น

นพ.สุนทร กล่าวยกตัวอย่างด้วยว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ ถ้าพัฒนาต่อจะได้ประโยชน์ เช่น Teleconsultation หรือการปรึกษาทางไกลเพราะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีจำนวนมากในจังหวัดใหญ่แต่ในจังหวัดเล็กยังขาดแคลนมาก  บางครั้งกว่าจะได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคนไข้ก็เสียชีวิตแล้ว “แต่ถ้ามีการวางระบบปรึกษาทางไกลได้ทั่วถึง มีประสิทธิภาพ เชื่อมต่อเป็นยูนิตเดียวกันได้ทั่วประเทศ ช่วยให้แพทย์ใน รพ.ขนาดเล็กที่ยังขาดแคลนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ สามารถติดต่อปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ตลอดเวลา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ต้องเดินทางไปในพื้นที่ ก็ช่วยรักษาชีวิตคนไข้ที่อยู่ในระยะวิกฤติได้”นพ.สุนทรกล่าว

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1056558

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจจากข่าว  7 เทรนด์เทคโนโลยีสุขภาพ ตอบโจทย์การแพทย์สมัยใหม่ ช่วยดูแลสุขภาพคนไทย

เช็คเบี้ยประกันสุขภาพได้ที่นี่ คลิ๊ก 

เทคโนโลยีทางการแพทย์ทั้ง 7 เทรนด์ที่ถูกกล่าวถึงในข่าวเป็นประเด็นที่น่าสนใจที่หากภาครัฐใฟ้ความสำคัญก็จะสามารถสานต่อและผลักดันความฝันที่ต้องการให้ประเทศของเราเป็นศูนย์กลางฮับสุขภาพที่สำคัญเพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าต่างประเทศที่ต้องการเข้ามารับบริการทางการแพทย์จากบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทย

เมื่อไล่เรียงประเด็นทั้งหมดเราพบว่ามีหลายเทรนด์ที่เราสามารถทำได้ทันทีหรือสามารถเร่งพัฒนาเป็นลำดับแรก ๆเพื่อรองรับการขยายงานในด้านสาธารณสุขในอนาคตและยังช่วยลดทอนขั้นตอนการทำงานหลาย ๆ อย่างอันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในระบบสาธารณสุข รวมถึงการลดภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ลงไปหลายส่วน

โดยเทคโนโลยีที่น่าสนใจและควรจะพัฒนาเพื่อรองรับการขยายตัวเป็นลำดับต้น ๆ ได้แก่

  • เทคโนโลยี VR และ AR ที่ใช้ในการฝึกอบรมทักษะในการทำหัตถการต่าง ๆ
  • เทคโนโลยี Big data ที่นอกจากจะช่วยให้การติดต่อประสานงานระหว่างเคสผู้ป่วยง่ายขึ้นก็ยังเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่ภาครัฐสามารถนำไปกำหนดนโยบายด้านสาธารณสุขได้
  • Teleconsultation รวมถึง telemedical ที่นอกจากจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษายังเป็นการกระจายโอกาสให้กับพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงโอกาสในการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะ และ
  • เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ควรพัฒนาเพื่อปกป้องข้อมูลทางการแพทย์ของคนไข้ให้รอดพ้นจากมิจฉาชีพที่จะนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ

เทคโนโลยีทั้ง 3 ด้านนี้คือสิ่งที่ประเทศเราควรเร่งพัฒนาระบบต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยให้การทำงานในระบบสาธารณสุขสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการขาดแคลนกำลังคนรวมถึงการที่เราจะมุ่งผลักดันการเป็นฮับสุขภาพในอนาคต ในขณะที่เทคโนโลยีอีก 3 ประเภทที่เหลือไม่ว่าจะเป็นการนำ AI มาช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรค Nano-medicine หรือ IoMT ก็เป็นสิ่งที่หากเราสามารถพัฒนาได้ก็จะเป็นประโยชน์กับประเทศและช่วยทำให้ความฝันในการเป็นฮับสุขภาพยิ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นอันจะช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตขึ้นได้ในอนาคต