สรุปวิธี เช็คสิทธิ์ประกันสังคม มาตรา 33 39 และ 40 ด้วยตนเอง

ขั้นตอนเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ www.sso.go.th

ให้คุณเข้าสู่เว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th แล้วกรอกรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่าน หลังจากนั้นคลิกที่ “เข้าสู่ระบบ”

เช็คสิทธิ์ประกันสังคม
หน้าเว็บไซต์ประกันสังคมจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกันตนว่าเป็นผู้ประกันตนมาตราอะไร เลขบัตรประจำตัวประชาชน โดยผู้ประกันตนสามารถเลือกดูข้อมูลต่าง ๆ ได้เลย

ขั้นตอนเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ผ่าน SSO Connect


ผู้ประกันตนต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect ได้ทั้งระบบ iOS และระบบ Android หลังจากนั้นให้กรอกเลขบัตรประชาชนพร้อมรหัสผ่าน และคลิกที่ “เข้าสู่ระบบ (Login)
แอปพลิเคชันประกันสังคม SSO Connect จะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับผู้ประกันตน เช่น ชื่อและนามสกุล โรงพยาบาลที่สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ ยอดเงินสมทบชราภาพ และสิทธิทำฟันประกันสังคม โดยด้านล่างผู้ประกันสามารถเลือกเช็คสิทธิประกันสังคมที่ต้องการทราบได้เลย
และนี่คือการเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ด้วยเลขบัตรประชาชนที่ผู้ประกันตนสามารถทำได้ด้วยตัวเอง

7 สิทธิ์ประกันสังคมที่ผู้ประกันตน ม.33 และ ม. 39 สามารถใช้ได้

หลังจากทำการเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ด้วยบัตรประชาชนไปแล้ว ลำดับต่อไปผู้ประกันตนคงอยากรู้ว่าสามารถใช้สิทธิประกันสังคมอะไรได้บ้างในฐานะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และผู้ประกันตนมาตรา 39 เพราะถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น โดนไล่ออกกะทันหัน เจ็บป่วย เสียชีวิต หรือลาคลอดบุตร จะได้รักษาสิทธิ์ตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเงินติดล้อได้รวบรวม 7 สิทธิประกันสังคมเอาไว้ให้แล้ว ดังนี้

1.สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยมีอะไรบ้าง?

เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย โดยสามารถใช้สิทธิ์การรักษาพยาบาลที่เลือกไว้ตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการรักษาโดยไม่เสียเงินสักบาท รวมไปถึงการบำบัดไต ปลูกถ่ายอวัยวะ ค่าทำฟันประกันสังคม และเงินทดแทนรายได้ขณะเจ็บป่วย

2.สิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพมีอะไรบ้าง?

เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีทุพพลภาพ ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 3 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนจะทุพพลภาพ โดยผู้ประกันตนจะได้รับค่าใช้จ่ายตามรายละเอียด ดังนี้

  • ค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายของผู้ทุพพลภาพ ทั้งร่างกาย และจิตใจ เป็นจำนวนไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย
  • ค่าอวัยวะเทียม + อุปกรณ์
  • ค่าพาหนะรับ – ส่งผู้ทุพพลภาพ 500 บาทต่อเดือน

3.สิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิตมีอะไรบ้าง?

เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีเสียชีวิต ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 1 เดือนภายใน 6 เดือนก่อนที่จะเสียชีวิต โดยผู้ประกันตนจะได้รับค่าใช้จ่ายตามรายละเอียด ดังนี้

  • ค่าทำศพ 4,000 บาท
    เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต

4.สิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตรมีอะไรบ้าง?

เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 7 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนที่จะคลอด โดยผู้ประกันตนจะได้รับค่าใช้จ่ายตามรายละเอียด ดังนี้

ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายไม่จำกัดจำนวนครั้ง เบิกได้ 13,000 บาทต่อครั้ง
ผู้ประกันตนฝ่ายหญิงจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรอีกในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นเวลา 90 วัน (เบิกได้ไม่เกิน 2 ครั้ง)
ค่าตรวจและรับฝากครรภ์ ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

5.สิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพมีอะไรบ้าง?

เงินสมทบชราภาพของประกันสังคมนั้น ผู้ประกันตนจะได้รับก็ต่อเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนของประกันสังคม โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินชราภาพ ดังนี้

อายุครบ 55 ปี สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) ได้บำเหน็จ
อายุครบ 55 ปี สมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป (15 ปี) ได้บำนาญ
ถ้าค่าจ้างเกินกว่าเดือนละ 15,000 บาท สมทบไม่ครบ 180 เดือน (15 ปี) จะได้บำนาญเดือนละ 3,000 บาท หากส่งเกิน 180 เดือน (15 ปี) จะได้เพิ่มปีละ 225 บาท

6.สิทธิประกันสังคมกรณีเงินสงเคราะห์บุตรมีอะไรบ้าง?

เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีเงินสงเคราะห์บุตร ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบ 12 เดือนภายใน 36 เดือนก่อนมีบุตรจะคลอด โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับเงินสงเคราะห์บุตร คือ บุตรตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร 600 บาทต่อเดือนต่อคน ครั้งละไม่เกิน 3 คน

7.สิทธิประกันสังคมกรณีเป็นคนว่างงานมีอะไรบ้าง?

เงื่อนไขในการใช้สิทธิประกันสังคมกรณีเป็นคนว่างงาน ผู้ประกันตนต้องส่งเงินสมทบ 6 เดือนภายใน 15 เดือนก่อนที่จะว่างงาน โดยเงินคนว่างงาน จะจ่ายให้กับผู้ประกันตนใน 3 กรณี คือ

กรณีเลิกจ้าง : ได้เงินคนว่างงาน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)
กรณีลาออก : ได้เงินคนว่างงาน 30% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 90 วัน (3 เดือน)
เหตุสุดวิสัย : ได้เงินคนว่างงาน 50% ของค่าจ้างปีละไม่เกิน 180 วัน (6 เดือน)

ไม่ได้ทำงานประจำ แต่อยากใช้สิทธิประกันสังคม ทำยังไงดี?

สำหรับคนที่ไม่ได้ทำงานประจำ รับงานแบบฟรีแลนซ์ หรือคนไม่มีงานทำ ก็สามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ เพราะคุณจะถูกเรียกว่าเป็น “ผู้ประกันตนมาตรา 40” ซึ่งคุณสมบัติของผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ

อายุผู้ประกันตนต้อง 15-60 ปี
บุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคม
ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 หรือข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ
โดยสิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนมาตรา 40 ใช้ได้ ขึ้นอยู่กับประเภทเงินสมทบที่ส่ง แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

1.ส่งเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน ใช้สิทธิประกันสังคมอะไรได้บ้าง ?

กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 30 วัน
กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน

2.ส่งเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน ใช้สิทธิประกันสังคมอะไรได้บ้าง ?

กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 30 วัน
กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน
บำเหน็จชราภาพ 50 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน

3.ส่งเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน ใช้สิทธิประกันสังคมอะไรได้บ้าง ?

กรณีประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกินปีละ 90 วัน
กรณีทุพพลภาพ ทดแทนการขาดรายได้ 500 – 1,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต
กรณีเสียชีวิต รับค่าทำศพ 40,000 บาท
บำเหน็จชราภาพ 150 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
เงินสงเคราะห์บุตร 200 บาทต่อเดือนต่อคน ครั้งละไม่เกิน 2 คน
เมื่อเป็นผู้ประกันมาตรา 40 แล้ว แต่ถ้ายังไม่ได้สมัครสมาชิกผู้ประกัน หรืออยากเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ด้วยเลขบัตรประชาชน สามารถใช้วิธีข้างต้นได้เลย

สรุปอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2564 ล่าสุด