สรุป เงินประกันราคาข้าว 65 งวดที่ 7 เงินเข้าวันไหน

เงินประกันราคาข้าว 65 เริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรแล้วเมื่อ 24 พ.ย. 2565  สำหรับเงินประกันข้าว 65/66 และเงินเยียวยา ไร่ละ 1,000 บาท โดยเงินที่เกษตรกรจะได้รับมีทั้งหมด 33 งวด โดยการโอนเงินเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ที่ผ่านมา เป็นเงินประกันราคาข้าวเงินงวดที่ 1-6 จะโอนให้กับเกษตรกรที่แจ้งวันเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 15 ต.ค. – 18 พ.ย. 2565 จากนั้นจะประกาศทุกๆ 7 วัน คือ

งวดที่ 1 เก็บเกี่ยวก่อน 15 ต.ค. 2565
งวดที่ 2 เก็บเกี่ยว 15 – 21 ต.ค. 2565
งวดที่ 3 เก็บเกี่ยว 22 – 28 ต.ค. 2565
งวดที่ 4 เก็บเกี่ยว 29 ต.ค. – 4 พ.ย. 2565
งวดที่ 5 เก็บเกี่ยว 5 – 11 พ.ย. 2565
งวดที่ 6 เก็บเกี่ยว 12 – 18 พ.ย. 2565
การจ่ายเงินส่วนต่างจากโครงการประกันรายได้ปีที่ 4 งวดที่ 1-6 ครอบคลุมเกษตรกรประมาณ 75% ของทั้งหมด โอนงวด 1-6 วันที่ 24-28 พ.ย. 2565 โดยงวดที่ 1 โอนให้เกษตรกร จำนวน 804,017 ครัวเรือน, งวดที่ 2 จำนวน 985,871 ครัวเรือน, งวดที่ 3 จำนวน 978,459 ครัวเรือน, งวดที่ 4 จำนวน 980,489 ครัวเรือน และงวดที่ 5 จำนวน 546,458 ครัวเรือน รวม 4,295,294 ครัวเรือน

สรุป เงินประกันราคาข้าว 65 ข้าวประเภทไหนได้ราคาเท่าไหร่

สำหรับราคาประกันรายได้ข้าวเปลือกแต่ละชนิดข้าว ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15% ไม่เกินครัวเรือนละ 40 ไร่ เฉพาะข้าวเจ้า ครัวเรือนละไม่เกิน 50 ไร่ โดยชดเชยเป็นจำนวนตัน ในแต่ละชนิด ข้าวในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ตามสูตรในการคำนวณเงินชดเชยส่วนต่าง (ราคาประกัน – ราคาอ้างอิง) X ผลผลิต/ไร่ ดังนี้

ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันรายได้ 15,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 359 กก.
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันรายได้ 14,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 432 กก.
ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันรายได้ 10,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 602 กก.
ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคาประกันรายได้ 11,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 682 กก.
ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันรายได้ 12,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ 387 กก.

สรุป เงินประกันราคาข้าว 65 เงินเกษตรกร ไร่ละ 1,000 บาท มีกำหนดโอนเงิน ดังนี้

24 พ.ย. 2565 มีการโอนรวม 804,017 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,015.485 ล้านบาท
ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี ตาก เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน และจังหวัดลำพูน
25 พ.ย. 2565 โอนรวม 985,871 ครัวเรือน จำนวนเงิน 10,841.001 ล้านบาท
ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.ลำปาง น่าน แพร่ อุดรธานี ร้อยเอ็ด มหาสารคาม และ จังหวัดอุบลราชธานี
26 พ.ย. 2565 โอนรวม 978,459 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,036.883 ล้านบาท
ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.ขอนแก่น สกลนคร นครพนม กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และจังหวัดยโสธร
27 พ.ย. 2565 โอนรวม 980,489 ครัวเรือน จำนวนเงิน 11,369.183 ล้านบาท
ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และจังหวัดชัยภูมิ
28 พ.ย. 2565 โอนรวม 546,458 ครัวเรือน จำนวนเงิน 7,354.491 ล้านบาท
ให้เกษตรกรพื้นที่ จ.อำนาจเจริญ ชัยนาท นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรปราการ สระแก้ว กาญจนบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี กระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล กทม. และจังหวัดเลย

ทั้ง 2 โครงการสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทาง

เงินประกันราคาข้าว 65

1. เข้าสู่เว็บไซต์ chongkho.inbaac.com “เงินเยียวยาเกษตรกร”

– กรอกเลขประจำตัวประชาชน จากนั้นกดค้นหา
– รายละเอียดของบัญชี จำนวนเงิน และโครงการของเงินช่วยเหลือที่ได้รับจะปรากฏขึ้น สามารถตรวจสอบยอดเงินได้ด้วยตัวเอง

หากผู้ที่ไม่ใช่เกษตรกรตรวจสอบ ระบบจะขึ้นข้อมูลว่า ไม่พบข้อมูลการลงทะเบียน (โปรดติดต่อหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนเกษตรกรตามชนิดพืชที่ได้รับสิทธิตามโครงการ)

2. แอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile สามารถเข้าไปตรวจสอบยอดเงินทางที่ช่องทางนี้

 

สรุปอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2564 ล่าสุด