ส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ หรือ ส่งออก (Export) เป็นช่องทางขยายธุรกิจให้เติบโตอีกขั้น ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจประสบความสำเร็จในประเทศหลายท่านเล็งตลาดต่างประเทศเป็นเป้าหมายต่อไป ด้วยกลุ่มลูกค้าใหญ่ขึ้น โอกาสธุรกิจเติบโตเพิ่มขึ้น อีกทั้งนำรายได้เข้าประเทศมหาศาล

ส่งของไปต่างประเทศ ทำอย่างไร ? การส่งสินค้าไปขายต่างประเทศเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งเพราะอาศัยความรู้ หลายด้านและเตรียมพร้อมดังต่อไปนี้

1. ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนส่งของไปต่างประเทศ

  • จดทะเบียนพาณิชย์เป็นนิติบุคคล ที่กรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้มีสภาพเป็นองค์กรธุรกิจ ติดต่อกับผู้นำเข้าด้วยความน่าเชื่อถือ
  • จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • จดทะเบียนตามระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้า ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าที่จำหน่าย
  • การประเมินกำลังการผลิตและศักยภาพขององค์กรพร้อมส่งออกอย่างถูกต้อง
  • การเข้าใจตลาดที่จะส่งสินค้าไปขายรวมถึงกฎระเบียบ ข้อจำกัด การกำหนดโควตา หรือการคุ้มครองในประเทศผู้นำเข้าให้ละเอียด
  • การกำหนดราคาขายอย่างเหมาะสม คำนึงถึงโครงสร้างภาษี ค่าใช้จ่าย การแข่งขันในตลาด ปริมาณการส่งออก ฯลฯ
  • ต้องมีแผนงานส่งออกชัดเจนเพิ่มความน่าเชื่อถือในการตกลงกับคู่ค้าหรือ Partner ซึ่งเป็นผู้นำเข้าสินค้าไปขาย
  • การเข้าใจเงื่อนไขการเสนอราคา (Quotation Term หรือ Inco Term) ชัดเจน ได้แก่
    • O.B (Free on Board) ราคาสินค้ารวมค่าใช้จ่ายทุกชนิดตลอดจนค่าขนส่งทั้งทางน้ำหรือทางอากาศ แต่ไม่รวมค่าระวาง และค่าประกันสินค้า
    • CFR หรือ CNF (Cost and Freight) ราคา O.B. รวมค่าระวางถึงปลายทาง
    • CIF (Cost,Insurance and Freight) ราคา CFR รวมค่าประกันสินค้า
  • บางกรณีอาจทำสัญญาเป็นหลักฐานการซื้อขายสินค้า โดยปกติมีเอกสารดังนี้
    • Proforma Invoice ใบเสนอราคาส่งให้ผู้นำเข้าเพื่อยืนยันราคาและเงื่อนไข
    • Purchase Order ใบตอบรับของผู้นำเข้าในการสั่งซื้อสินค้าตามราคา และเงื่อนไข
    • Sale Confirmation สัญญายืนยันการซื้อขาย
  • การเข้าใจรูปแบบการชำระเงิน ปัจจุบันมีวิธีการชำระเงินดังต่อไปนี้
    • จ่ายเงินล่วงหน้า (Cash or Advance Payment) โดยผู้นำเข้าจะส่งเงิน Bank Draft เข้าบัญชีผู้ประกอบการก่อน เมื่อผู้ประกอบการได้รับเงินแล้วจึงส่งสินค้ากลับให้ผู้นำเข้า
    • จ่ายเงินเชื่อ (Open Account) ผู้ประกอบการส่งสินค้าก่อน รับชำระเงินจากผู้นำเข้าภายหลังตามเงื่อนไขตกลง เช่น 30 วัน 60 วัน เป็นต้น
    • การขายฝาก (Consignment) จ่ายเงินเมื่อผู้นำเข้าขายสินค้าได้แล้ว
    • การจ่ายเงินก่อนนำเอกสารไปออกสินค้า (Documents Against Payment, D/P)
    • การรับรองตั๋วแลกเงินก่อนนำเอกสารไปออกสินค้า (Documents Against Acceptance, D/A)
    • หนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารตามคำขอของผู้นำเข้าสินค้า (Letter of Credit, L/C) เป็นวิธีที่ดี เหมาะสม สะดวก เชื่อถือสูง นิยมใช้มากที่สุด

2. ขั้นตอนส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ

ส่งของไปต่างประเทศ

หลังจากนี้เป็นขั้นตอนการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศ ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง มีเอกสารครบถ้วนและดำเนินตามวิธีการด้านศุลกากรอย่างเคร่งครัด โดยผู้ประกอบการทำด้วยตัวเองหรือใช้บริการของ “ตัวแทนออกของศุลกากร” หรือ Customs Broker หรือ Shipping Agent ซึ่งมีขั้นตอนทั่วไป ดังนี้

  • ขอใบรับรองทางด้านความปลอดภัยและมาตรฐานสินค้า เช่น การขอใบรับรอง Health Certificate สำหรับสินค้าอาหาร ผัก ผลไม้ สินค้าประมง เป็นต้น
  • ขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้ผู้นำเข้าได้รับการลดหย่อนภาษีศุลกากร
  • ติดต่อจองเรือบรรทุก หรือเครื่องบิน ทำเรื่องการประกันภัยสินค้าให้เรียบร้อย
  • วางแผนจัดการส่งออกตามเงื่อนไขที่ผู้นำเข้าระบุไว้ในหนังสือสั่งซื้อสินค้าทุกประการ
  • จัดทำเอกสารเพื่อผ่านพิธีการศุลกากร
  • ผ่านพิธีการศุลกากร มีให้เลือกใช้ 2 ระบบ
    • ระบบ Manual เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรตรวจสอบเอกสาร ตรวจสอบพิกัด ประเมินราคาสินค้าในกรณีที่ต้องเก็บอากร บันทึกเข้าคอมพิวเตอร์ ตรวจปล่อยสินค้า นำของออกจากการท่าเรือ
    • ระบบ EDI ผู้ส่งออกบันทึกข้อมูลใน Invoice และใบขนสินค้าออกในเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ส่งออกเอง ส่งข้อมูลเข้าไปที่กรมศุลกากร กรมศุลกากรตรวจสอบถูกต้อง แจ้งวันเวลาจ่ายเงินค่าธรรมเนียม ตรวจปล่อยสินค้าลงเรือ
  • ผู้ส่งออกแนบเอกสารการส่งออกและใบรับรองทุกอย่างไปพร้อมกับสินค้า

3. เอกสารที่ต้องเตรียมในการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ

  • ใบขนสินค้าขาออก ประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนา 1 ฉบับ

ผู้ประกอบการต้องยื่นใบขนส่งขาออกต่อกรมศุลกากรให้ถูกต้องตามลักษณะการส่งออก 4 ประเภท ดังนี้

  1. แบบ กศก.101/1 ใช้ในการส่งสินค้าไปขายต่างประเทศกรณีดังต่อไปนี้
    • การส่งออกสินค้าทั่วไป
    • การส่ง ออกของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์
    • การส่ง ออกสินค้าประเภทส่งเสริมการลงทุน (BOI)
    • การส่ง ออกสินค้าจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
    • การส่ง ออกสินค้าที่ขอชดเชยค่าภาษีอากร
    • การส่ง ออกสินค้าที่ขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ
    • การส่งออกสินค้าที่ต้องการใบสุทธินำกลับ
    • การส่งสินค้ากลับออกไป (RE-EXPORT)
  1. แบบ กศก.103 คำร้องขอผ่อนผันรับของ/ส่งของออกไปก่อนใช้ในการขอส่งสินค้าออกไปก่อนปฏิบัติพิธีการใบขนสินค้าขาออกในลักษณะที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ในประมวลระเบียบปฏิบัติศุลกากร พ.ศ. 2544
  2. แบบ A.T.A. Carnet ใบขนสินค้าสำหรับนำของเข้าหรือส่งของออกชั่วคราวใช้สำหรับพิธีการส่งของออกชั่วคราวในลักษณะที่กำหนดในอนุสัญญา
  3. ใบขนสินค้าพิเศษสำหรับรถยนต์และจักรยานยนต์นำเข้าหรือส่งออกชั่วคราวใช้สำหรับการส่งออกรถยนต์และจักรยานยนต์ชั่วคราว
  • บัญชีราคาสินค้า (Invoice) 2 ฉบับ
  • แบบธุรกิจต่างประเทศ (Foreign Transaction Form) เช่น ธต.1 จำนวน 2 ฉบับ กรณีสินค้าส่งออกมีราคา O.B เกิน 500,000 บาท
  • ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก
  • เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น ใบแนบใบขนสินค้าขาออก (กรณีเป็นสินค้าที่จะขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ) หรือ ใบขนสินค้ามุมน้ำเงิน (กรณีเป็นสินค้าที่ขอชดเชยอากรสินค้าส่งออก) เป็นต้น
  • คำร้องอื่น ๆ (ถ้ามี)

กระบวนการส่งของไปต่างประเทศมีหลายขั้นตอน ใช้เอกสารหลายรายการ ต้องติดต่อกับหน่วยงานเกี่ยวข้องต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการทำเองทุกขั้นตอนหรือเลือกใช้บริการ Shipping Agent เป็นผู้ดำเนินการให้ก็ได้

ประโยชน์ที่ได้จากการส่งสินค้าขายต่างประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการขยายธุรกิจสู่อีกระดับหนึ่ง แบรนด์เป็นที่ยอมรับของต่างประเทศ และนำเงินตราเข้าประเทศ

ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมควรวางแผนส่งสินค้าไปขายต่างประเทศอย่างยิ่งเพราะผลที่ได้รับนั้น คุ้มค่า ทั้งต่อธุรกิจและประเทศชาติ