วิกฤต Silicon Valley Bank ล้มโดมิโน่การเงินโลก 2023 มีสาเหตุมาจากอะไร

สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจได้รายงานเรื่องไทม์ไลน์เหตุการณ์ Silicon Valley Bank ล้มสะเทือนระบบการเงินโลกมีสาเหตุมาจากอะไร โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ถูกพูดถึงไปทั่วโลกกับการปิดตัวลงของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ หรือ Silicon Valley Bank (SVB) ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกต่อระบบการเงินของโลกหลังจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากสหรัฐ หรือ Federal Deposit Insurance Corporation (FDIC) มีคำสั่งให้ธนาคารต้องปิดกิจการไปเมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยเราจะมาเปิดดูไทม์ไลน์ที่เป็นสาเหตุของการปิดตัวลงในครั้งนี้ไปด้วยกัน

ธนาคารซิลิคอน วัลเลย์หรือ  SVB ก่อตั้งเมื่อปี 1983 ที่รัฐแคลิฟอร์เนียโดยเป็นสถาบันการเงินอันดับที่ 16 ของสหรัฐโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การปล่อยเงินกู้ให้กลุ่มธุรกิจ Start Up

เทรด forex ให้ได้วันละ 1000 บาท

จากข้อมูลฐานะการเงินของธนาคาร ณ สิ้นเดือนธ.ค.2565 พบว่ามีมูลค่าสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 209,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นเงินฝาก 175,400 ล้านดอลลาร์ และมีหนี้เสียหรือ NPL เพียงไม่ถึง 1% ซึ่งดูเหมือนไม่น่าจะทำให้ธนาคารประสบปัญหาได้ แต่จู่ ๆ ธนาคารกลับต้องเผชิญกับปัญหาสภาพคล่องอย่างหนักด้วยสาเหตุมาจากกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพต้องการประคับประคองกิจการตัวเองจากภาวะเศรษฐกิจจึงได้แห่กันถอนเงินออกจากธนาคารอย่างกะทันหันจนเป็นเหตุให้ธนาคารประสบปัญหาขาดกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างหนัก ธนาคารจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยการขายพันธบัตรรัฐบาลที่ตัวเองถือจนขาดทุนแต่ก็ไม่สามารถเพิ่มทุนได้ จนสุดท้ายจึงต้องปิดกิจการในที่สุด

วิกฤต Silicon Valley Bank ปัญหาการล่มสลายของ SVB เกิดจากอะไร

ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลพวงมาจากธนาคารกลางสหรัฐประกาศเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อย่างต่อเนื่องจนเริ่มเห็นปัญหาที่ชัดเจนขึ้นในช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพราะลูกค้ากลุ่มที่เป็นสตาร์ทอัพต้องการเงินทุนไปประคับประคองกิจการตัวเองจึงได้แห่กันถอนเงินออกจากธนาคารอย่างกะทันหันจนทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่องโดยเฉพาะการกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างหนัก ธนาคารพยายามแก้ปัญหาด้วยการขายพันธบัตรรัฐบาลที่มีอยู่ในมือมูลค่าประมาณ 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐออกไปด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำแค่ประมาณ 1% เพื่อหาเงินสดมาคืนให้ลูกค้าที่แห่ถอนเงินฝากในภาวะที่ดอกเบี้ยพุ่งสูงขึ้น

การขายพันธบัตรภายใต้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีปัจจุบันที่ประมาณ 3.9% ส่งผลให้ SVB ต้องขาดทุนไปประมาณ 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าในช่วงต่อมา SVB จะพยายามแก้ปัญหาด้วยการประกาศแผนขายหุ้นให้แก่นักลงทุนวงเงิน 2.25 พันล้านดอลลาร์ในการระดมทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องแต่ก็ต้องล้มไป และนำไปสู่จึงการเข้ามาของ FDIC ที่ได้มีคำสั่งปิดสำนักงานใหญ่ SVB เพื่อเข้าดูแลสินทรัพย์ของ SVB ต่อไป

ผลกระทบ SVB กับประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินสถานการณ์ในไทย ว่าผลกระทบจากการปิดตัวลงของ SVB ต่อเสถียรภาพระบบการเงินไทยมีจำกัดเพราะไม่มีธนาคารพาณิชย์ของไทยที่มีธุรกรรมโดยตรงกับ SVB ขณะที่ปริมาณธุรกรรมโดยรวมของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ของไทยในธุรกิจ Fintech และ Startup ทั่วโลกมีไม่ถึง 1% ของเงินกองทุนของกลุ่มธนาคารพาณิชย์เหล่านั้นและธนาคารพาณิชย์ของไทยไม่มีนโยบายเข้าถือครองสินทรัพย์ดิจิทัล ส่วนกลุ่มธุรกิจของธนาคารพาณิชย์มีการถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลในระดับต่ำแค่ประมาณ 200 ล้านบาท เท่านั้น

ส่วนผลกระทบต่อค่าเงินบาทล่าสุดเงินบาทมีการปรับแข็งค่าขึ้นสอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาค โดยนักลงทุนได้มีการประเมินเอาไว้ว่า เหตุการณ์การล่มสลายของ SVB นี้จะส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและทำให้เงินดอลลาร์สหรัฐน่าจะอ่อนค่าลงเร็ว

แต่อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนของนโยบายการเงินสหรัฐจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดการเงินโลกและความผันผวนของค่าเงินบาทในระยะถัดไป

ที่มา: https://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/558786

ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับข่าววิกฤต Silicon Valley Bank ล้มโดมิโน่การเงินโลก 2023 มีสาเหตุมาจากอะไร

วิธีการเทรด Forex สำหรับผู้เริ่มต้น

แทบไม่น่าเชื่อว่าธนาคารที่มีความมั่นคงในระดับหนึ่งจากการสำรวจทรัพย์สินเมื่อสิ้นปี 2565 ทีมีหนี้เสียหรือ NPL ไม่ถึง 1% ของสินทรัพย์จะมีอันต้องล่มสลายลงไปหลังจากผ่านเวลาไปเพียงไม่ถึง 3 เดือนดีเท่านั้น

ปัจจัยหลักที่ทำให้ SVB ล่มสลายนั้นมาจากความพยายามที่จะสกัดกั้นภาวะเงินเฟ้อด้วยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเต็ม ๆ จากการประกาศขึ้นนโยบายก็คือกลุ่มธุรกิจรายย่อยที่มีภาระหนี้สินจากการกู้ยืมเงินทุนมาทำธุรกิจที่ทำให้ดอกเบี้ยหนี้สินที่มีอยู่เพิ่มขึ้นจนกลายเป็นภาระที่ต้องแบกรับนี้ ทำให้สภาพคล่องของกิจการมีปัญหาจนนำไปสู่การแห่ถอนเงินฝากตามธนาคารเพื่อนำมาเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจของตนเอง โชคร้ายจึงตกอยู่ที่ SVB ที่ลูกค้าส่วนใหญ่ของธนาคารคือกลุ่มเจ้าของธุรกิจรายย่อยที่ต่างก็เข้าไปแห่ถอนเงินฝากออกจากธนาคารพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย

ผลจากเงินที่ไหลออกอย่างรวดเร็วมนระยะเวลาอันสั้นจึงทำให้ SVB ประสบหายนะจนถึงขั้นต้องปิดตัวลงในที่สุดแม้จะพยายามดิ้นรนแล้วก็ตาม ภาพสะท้อนนี้เองที่ทำให้เฟดต้องกลับมาทบทวนมาตรการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้ออย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับประเทศไทยเองนับเป็นโชคดีที่ธนาคารพาณิชย์ในไทยไม่มีนโยบายที่จะลงทุนในธุรกิจกลุ่ม start up และ Fintech ในต่างประเทศรวมถึงไม่มีนโยบายที่จะถือครองคริปโตแม้ว่าบริษัทลูกอาจจะมีการถือครองคริปโตอยู่บ้างแต่ก็เป็นปริมาณที่น้อยจนแทบไม่มีผลอะไรตามมา แต่สิ่งที่ยังคงต้องให้ความสำคัญอยู่ก็คือนโยบายทางการเงินของสหรัฐว่าจะเป็นไปในทิศทางใดและทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอยู่ในขณะนี้มีทิศทางเป็นไปอย่างไร สิ่งนี้คือสิ่งที่ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนหรือผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญอย่างใกล้ชิดเพื่อที่จะได้วางแผนรับมือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างเหมาะสม