การรีไฟแนนซ์บ้านจึงเป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสม วิธีนี้สามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางธุรกิจได้อย่างไร และควรเลือกที่ไหนดี

บ้านนอกจากจะเป็นหนึ่งในปัจจัยขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิตแล้ว ยังเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสามารถส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ สำหรับบางคน บ้านเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงสถานะทางสังคมเช่นกัน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามในการที่อยากมีบ้านสักหลัง สิ่งที่ตามมาคือภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบในแต่ละเดือน โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อาจมีโอกาสเจอกับเหตุไม่คาดคิด ส่งผลต่อรายได้ของธุรกิจที่กระทบต่อรายจ่ายส่วนตัว ที่ร้ายแรงสุดอาจเกิดวิกฤตทางการเงิน หากการขายทรัพย์สินที่มีอยู่อย่างเช่นบ้านยังไม่ใช่เหตุผลที่ดีในตอนนี้ การรีไฟแนนซ์บ้านจึงเป็นอีกทางเลือกที่เหมาะสม วิธีนี้สามารถช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางธุรกิจได้อย่างไร และควรเลือกที่ไหนดี

ปัญหาภาระหนี้บ้าน และสภาพเศรษฐกิจ

บ้านคือวิมานของเรา แต่ในความเป็นจริงการตัดสินใจซื้อบ้านสักหลัง อาจต้องคิดแล้วคิดอีก ไหนจะทำเล ลักษณะโครงสร้าง พื้นที่ใช้สอย สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งหมดที่ว่ามานี้เป็นตัวแปรที่ทำให้ราคาบ้านแต่ละโครงการแตกต่างกัน และที่สำคัญคือการผ่อนบ้านต้องใช้ระยะเวลานานหลายสิบปี ถือเป็นภาระในระยะยาว หากซื้อบ้านที่ไม่เหมาะกับรายได้ก็น่าเป็นห่วงพอสมควร สำหรับคนที่มีธุรกิจเป็นของตัวเองคงต้องไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ดูว่าแนวโน้มของกิจการจะเติบโตขึ้นและมีรายได้ที่สามารถนำมาผ่อนบ้านได้ตลอดรอดฝั่งในอนาคตได้หรือไม่ แต่หากเกิดสถานการณ์บางอย่างที่เราไม่สามารถควบคุมได้อย่างสภาพเศรษฐกิจที่แย่เกินรับมือไหว แถมยังไม่มีแผนสำรองในการรับมือแบบนี้ก็น่าเป็นกังวลอยู่ไม่น้อย ยิ่งขาดสภาพคล่องทางการเงินมากเท่าไหร่ ยิ่งรู้สึกว่าปัญหาใหญ่มากขึ้นเท่านั้น บ้านที่น่าอยู่ของเราก็จะกลายเป็นภาระที่สร้างความหนักใจให้ทันที แต่การตัดสินใจลดภาระหนี้โดยการขายบ้านนั้น ขอแนะนำว่าถ้ายังไม่ถึงที่สุดจริงๆก็ควรที่จะเก็บบ้านไว้ดีกว่า เพราะยังมีวิธีอื่นในการแก้ปัญหานี้อย่างการรีไฟแนนซ์บ้าน

การรีไฟแนนซ์บ้านช่วยเพิ่มสภาพคล่องได้อย่างไร ?

รีไฟแนนซ์บ้าน หมายถึง การกู้ยืมสินเชื่อก้อนใหม่จากธนาคารที่เราเป็นหนี้ผ่อนชำระอยู่เดิม หรือทำเรื่องกู้จากธนาคารใหม่เพื่อมาโปะหนี้ธนาคารเดิมก็ได้เช่นกัน  เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถลดภาระผ่อนชำระรายเดือนลงได้ค่อนข้างดี ช่วยลดอัตราดอกเบี้ย เพิ่มระยะเวลากู้ เพื่อให้ส่งค่างวดต่อเดือนน้อยลงนั่นเอง แถมยังมีโอกาสผ่อนหนี้หมดเร็วขึ้นอีก

การทำรีไฟแนนซ์บ้านสามารถทำได้ทุกๆ 3 ถึง 5 ปี ขึ้นอยู่กับสัญญาที่ทำเอาไว้ โดยปกติดอกเบี้ยที่จ่ายในสัญญาช่วง 3 ปีแรก จะถูกกว่าปีต่อๆไป ทำให้หลายคนนิยมทำรีไฟแนนซ์ทุกๆ 3 ปี ถือเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ทำให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น สามารถนำไปลงทุนต่อหรือหมุนเวียนในธุรกิจได้ สำหรับการรีไฟแนนซ์เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง ทำได้ 2 วิธีคือ

  1. ขอกู้เพิ่มเท่ากับวงเงินกู้ครั้งแรก เป็นการกู้ยืมส่วนที่ผ่อนชำระไปแล้ว ซึ่งจะได้เงินส่วนต่างไว้เป็นเงินสำรอง และขยายระยะเวลาในการผ่อนออกไปอีก 3 ปี
  2. ผ่อนชำระต่อจากเงินต้นที่คงเหลือ และขยายระยะเวลาผ่อนออกไปอีก 3 ปี ยอดผ่อนชำระต่อเดือนจะน้อยกว่าแบบแรก เป็นการเพิ่มสภาพคล่องด้วยการลดยอดผ่อนชำระในแต่ละเดือนแทน

รีไฟแนนซ์บ้านที่ไหนดี ?

หนึ่งในคำศัพท์ที่คนผ่อนบ้านต้องรู้ คือ อัตราดอกเบี้ย MRR (Minimum Retail Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น โดยแต่ละธนาคารจะใช้อัตราดอกเบี้ยข้างต้นไม่เหมือนกัน

ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์บ้าน ไม่เพียงแต่การศึกษาหาข้อมูล นโยบายต่างๆของธนาคาร และขั้นตอนในการดำเนินการแล้ว ยังต้องดูแนวโน้มทางการเงินส่วนบุคคล รวมถึงความสามารถในการผ่อนค่างวดด้วยว่า ดอกเบี้ยเท่าไหร่จึงจะผ่อนไหว ควรเลือกธนาคารที่คิดว่าดีที่สุดสำหรับตัวเอง หากได้ดอกเบี้ยถูก จะประหยัดดอกเบี้ยได้หลายแสนเลยทีเดียว มีปัจจัยในการพิจารณาดังนี้

  • อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยของ 3 ปีแรก

มาทำดูจากข้อเสนอของแต่ละธนาคารโดยนำอัตราดอกเบี้ย 3 ปีแรกมาหาค่าเฉลี่ย เพื่อหาอัตราดอกเบี้ยต่ำสุด ภายใต้เงื่อนไขที่ดีที่สุด เพื่อนำไปประกอบการตัดสินใจร่วมกับปัจจัยอื่นๆ

  • จำนวนค่าใช้จ่ายที่ลดลงในแต่ละเดือน

เมื่อได้ข้อมูลอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินต่างๆ ให้นำมาคำนวณแล้วลองเปรียบเทียบค่างวดเก่ากับค่างวดใหม่ดูว่าเมื่อทำการรีไฟแนนซ์แล้ว จะประหยัดค่างวดลงได้เยอะหรือไม่

  • ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์

เพื่อประเมินว่าคุ้มหรือไม่ โดยดูจากส่วนต่างที่ประหยัดได้จากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกิดขึ้นเช่น ค่าธรรมเนียม, ค่าประเมินราคา เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของเราเองที่ต้องตรวจสอบและตัดสินใจ ในส่วนของค่าใช้จ่ายควรน้อยกว่าดอกเบี้ยที่ประหยัดได้อยู่พอสมควร ซึ่งในทุกๆปี ธนาคารต่างพากันแข่งขันออกโปรโมชั่นใหม่ๆ นำเสนออัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้า ดังนั้นเมื่อทำการเปรียบเทียบดูแล้วที่ไหนคุ้มค่ากว่าก็เตรียมดำเนินการย้ายได้เลย

ตัวอย่างรีไฟแนนซ์บ้านกับ CIMB Bank

หากเข้าไปที่เว็บไซต์ของทางธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จะพบกับข้อเสนอสุดพิเศษของการรีไฟแนนซ์บ้านถึง 3 โปรแกรมด้วยกัน คือ

  1. โปรแกรม สุดประหยัด ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 2.85% ฟรี 3 ต่อ ในส่วนของ
  • ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
  • ค่าอากรแสตมป์
  • ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย 3 ปี
ประเภทปีที่ 1-3ปีที่ 4-7ปีที่ 8 เป็นต้นไปอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา
ทำประกันชีวิตMRR – 4.90%MRR – 2.76%MRR – 2.25%2.85 %4.64 %
ไม่ทำประกันชีวิตMRR – 4.60%MRR – 2.76%MRR – 2.25%3.15 %4.73 %
  1. โปรแกรม สุดคุ้ม ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 09% ฟรี 4 ต่อ ในส่วนของ
  • ค่าจดจำนอง สูงสุด 100,000 บาท
  • ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
  • ค่าอากรแสตมป์
  • ค่าเบี้ยประกันอัคคีภัย 3 ปี
ประเภทปีที่ 1-3ปีที่ 4-7ปีที่ 8 เป็นต้นไปอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา
ทำประกันชีวิตMRR – 4.66%MRR – 2.76%MRR – 2.25%3.09 %4.71 %
ไม่ทำประกันชีวิตMRR – 4.36%MRR – 2.76%MRR – 2.25%3.39 %4.79 %
  1. โปรแกรม ท็อปอัพ (รีไฟแนนซ์บ้านและขอวงเงินเพิ่ม) ดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรก 99%
ประเภทปีที่ 1-3ระยะเวลาที่เหลืออัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีอัตราดอกเบี้ยตลอดอายุสัญญา
ทำประกันชีวิตMRR – 3.76%MRR – 2.00%3.99 %5.30 %
ไม่ทำประกันชีวิตMRR – 3.26%MRR – 2.00%4.49 %5.43 %

 หมายเหตุ

  1. อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างที่ใช้ในการคำนวณจากวงเงินสินเชื่อ 2 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 15 ปี เท่านั้น2. MRR = 7.75% ประกาศ ณ วันที่ 16 มิ.ย. 60

สอบถาม ยื่นแบบขอรีไฟแนนซ์บ้านกับธนาคาร CIMB > คลิ๊กที่นี่

มีหลายปัจจัยในการตัดสินใจเลือกรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินที่เราสนใจ ทั้งนี้ต้องก่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ทำแล้วชีวิตต้องง่ายขึ้น ในระหว่างนั้นก็ควรเตรียมความพร้อมทางการเงินไว้ด้วย เพราะเมื่อถึงคราวที่เกิดปัญหาหรือมีการเปลี่ยนแปลง อย่างน้อยก็เป็นการช่วยประคองสถานการณ์ได้โดยไม่ต้องเจ็บตัวมากนัก