ปัญหาผู้สูงอายุหกล้มอันตรายกว่าที่คิด เรื่อง PRINC เปิดตัวโปรเจ็ค “ล้ม Look” เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาผู้สูงวัยหกล้ม

สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจได้รายงานเรื่อง PRINC เปิดตัวโปรเจ็ค “ล้ม Look” เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาผู้สูงวัยหกล้มโดยมีรายละเอียดดังนี้

นายพวัสส์ ธนวุฒิศิรวัชร์ ผู้อำนวยการบริหารความสัมพันธ์และพันธมิตร บมจ.พริ้นซิเพิล แคปิตอลซึ่งดำเนินธุรกิจในการบริหารจัดการโรงพยาบาลเอกชนและธุรกิจสุขภาพในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์เปิดเผยว่า เครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ได้ร่วมมือกับมูลนิธิพงษ์ศักดิ์วิทยากรและบริษัท เมดคิวรี จำกัดเปิดตัวโครงการ ‘ล้ม Look’ Every Second We Care ที่มีอุปกรณ์ที่น่าสนใจอย่าง Smart Device สำหรับตรวจจับการหกล้ม ซึ่งเป็นระบบติดตามผลข้อมูลด้านสุขภาพในผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพและมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุหกล้ม

ปัญหาผู้สูงอายุหกล้ม

สั่งซื้อ ไม้เท้าพร้อมด้ามจับ 2 ด้าม ไม้เท้าผู้สูงอายุ ผู้ป่วย มีไฟ มีเสียงสัญญาณ SOS ได้ที่นี่

สำหรับผลกระทบที่ตามมาสำหรับสังคมเมืองไทยที่กำลังจะเป็นสังคมผู้สูงอายุเต็มตัวก็คือพบผู้สูงอายุที่ประสบอุบัติเหตุหกล้มเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 4 – 5 รายซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีก โดยการหกล้มเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและเมื่อหกล้มแล้วก็มักมีความรุนแรงมากกว่าคนในวันอื่น ๆ เช่นกระดูกหัก เลือดออกในสมองจนนำมาสู่ภาวะทุพพลภาพและกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียงในที่สุด ในขณะที่บางรายอาจถึงขั้นเสียชีวิตหากไม่ได้เข้ารับการรักษาหรือความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยง ความรุนแรงและความสูญเสียที่มีโอกาสเกิดขึ้น ทาง PRINC จึงสร้างและพัฒนาช่องทางที่จะเชื่อมต่อระหว่างผู้ป่วยกับหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินของแต่ละสถานพยาบาลรวมถึงหน่วยกู้ชีพกู้ภัยผ่านอุปกรณ์ Smart Device ‘ล้ม Look’ ภายใต้แพลตฟอร์ม ‘หมอในบ้าน’ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ประสบเหตุเข้าถึงบริการทางการแพทย์ฉุกเฉินโดยทันทีและอย่างรวดเร็ว

กรณีที่ผู้สูงอายุประสบอุบัติเหตุหกล้ม อุปกรณ์ Smart Device ‘ล้ม Look’ จะทำการส่งข้อมูลไปยังผู้ที่ลงทะเบียนไว้เช่นญาติและแพลตฟอร์ม ‘หมอในบ้าน’ จะทำการประมวลผลอย่างแม่นยำและส่งต่อข้อมูลไปยังศูนย์รับข้อมูลเหตุฉุกเฉิน (Alert Center) ในโครงการ ‘ล้ม Look’  ซึ่งมีการนำร่องในโรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ 2 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลพริ้นซ์ ลำพูน จ.ลำพูน และโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ จังหวัดชุมพร โดย PRINC ตั้งเป้าที่จะขยายศูนย์รับข้อมูลเหตุฉุกเฉิน (Alert Center) ไปยังโรงพยาบาลในเครือฯ ให้ครบทั้ง 13 แห่งใน 11 จังหวัดในปี 2567

ด้านคุณจตุพล ชวพัฒนากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมดคิวรี จำกัด (MEDcury) บริษัทผู้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์และนวัตกรรมด้านสุขภาพ ภายใต้แพลตฟอร์ม “หมอในบ้าน” กล่าวว่า โครงการ “ล้ม Look” Every Second We Care ในเฟสแรกจะเปิดรับสมัครผู้สูงอายุที่เข้าเกณฑ์ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และชุมพร ในช่วงประมาณเดือนเมษายน 66 ผ่านทาง www.lomlook.com โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายซึ่งในปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างการเปิดรับพันธมิตรทั้งนักลงทุน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน สถานพยาบาล รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อโอกาสในการขยายพื้นที่และเพิ่มศักยภาพในการดูแลและให้บริการกับผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับการช่วยเหลือฉุกเฉินอย่างทันท่วงที ลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหนักหรือเสียชีวิตซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปสู่การลดงบประมาณด้านสาธารณสุขของประเทศในระยะยาวด้วย

ประชาชนหรือพันธมิตรภาคเอกชนที่สนใจร่วมโครงการดังกล่าว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.lomlook.com

ที่มา: https://www.thansettakij.com/health/wellbeing/559259

ประเด็นที่น่าสนใจจากข่าว ปัญหาผู้สูงอายุหกล้มอันตรายกว่าที่คิด เรื่อง PRINC เปิดตัวโปรเจ็ค “ล้ม Look” เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันปัญหาผู้สูงวัยหกล้ม

สั่งซื้อ  Collagen type 2 UCII บรรเทาอาการปวดเข่า เพิ่มมวลกระดูก แคลเซียมแอลทรีโอเนต ได้ที่นี่

โปรเจ็ค “ล้ม look” ที่ริเริ่มโดย PRINC ถือว่ามีความน่าสนใจเป็นอย่างมากเพราะปัญหาผู้สูงวัยหกล้มถือเป็นปัญหาใหญ่ที่มีผลกระทบต่อทั้งตัวของผู้สูงอายุเองและครอบครัว ยิ่งหากการหกล้มนั้นมีผลกระทบร้ายแรงตามมาต้องบอกเลยว่าสิ่งนี้สร้างความสั่นคลอนไปถึงระดับของเศรษฐานะในครอบครัวไม่น้อยเพราะนอกจากจะต้องใช้เวลาในการดูแลผู้สูงอายุแล้ว ครอบครัวก็ต้องใช้เงินทองไม่น้อยเลยในการดูแลผลกระทบที่เกิดจากการหกล้มนั้นโดยเฉพาะในรายที่ต้องกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง

โปรเจ็คนี้จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นโปรเจ็คที่จะเข้ามาช่วยเหลือซัพพอร์ตทั้งตัวของผู้สูงอายุเอง ครอบครัวของผู้สูงอายุเพื่อบรรเทาผลกระทบหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเพื่อให้ครอบครัวและตัวของผู้สูงอายุนั้นลดความเสี่ยงลงไปให้มากที่สุดในแง่มุมนี้จึงเป็นแง่มุมที่อาจเรียกได้ว่าเป็นข้อดีอย่างที่สุดก็ว่าได้

แต่สิ่งที่น่าสนใจและน่าคิดต่อไปก็คือจะทำอย่างไรที่โครงการจะเข้าไปจัดการเชิงรุกในแง่ของการป้องกันการหกล้มไม่ว่าจะเป็นการเข้าไปให้ความรู้หรือการจำแนกกลุ่มผู้มีความเสี่ยงที่จะหกล้มเพื่อเป็นการเฝ้าระวังขั้นสูงสุดเพื่อลดโอกาสหกล้มของผู้สูงอายุเหล่านั้นซึ่งหากโครงการสามารถบรรลุผลได้ตั้งแต่ขั้นตอนของการป้องกันก็ถือได้ว่าจะช่วยส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุได้ดีเช่นกันและเป็นการลดงบประมาณด้านสาธารณสุขที่ใช้ในการดูแลกลุ่มผู้สูงอายุที่มีประวัติหกล้มและได้รับผลกระทบจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระยะ