ค่าเงินบาทแข็งค่าที่ 34.45 บาทต่อดอลลาร์ สะท้อนเศรษฐกิจโลกกำลังบอกอะไร ?

สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจได้รายงานเรื่อง ค่าเงินบาทเปิดตลาดแข็งค่าที่ 34.45 บาทต่อดอลลาร์ในขณะที่ ค่าเงินเอเชียปรับตัวดี โดยมีรายละเอียดดังนี้

ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันที่ 7 มี.ค.ที่ 34.45 บาทต่อดอลลาร์โดยเป็นการแข็งค่าขึ้นจากระดับปิดเมื่อสัปดาห์ก่อนที่อยู่ในระดับ 34.70 บาทต่อดอลลาร์ โดยมีการมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้น่าจะอยู่ที่ระดับ 34.25-35.25 บาทต่อดอลลาร์

แนวโน้มค่าเงินบาทมีการประเมินเอาไว้ว่ายังมีแนวโน้มแกว่งตัวแบบ Sideways โดยยังมีแรงกดดันจากฝั่งอ่อนค่าอยู่แต่ไม่รุนแรงมาก ทั้งนี้ยังต้องจับตาความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยหลังดัชนีได้ย่อตัวลงใกล้โซนแนวรับสำคัญทำให้นักลงทุนต่างชาติมีโอกาสเริ่มชะลอการขายหุ้นไทย

ราคาทองคำก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญเพราะราคาเริ่มแกว่งตัวใกล้แนวต้านสำคัญซึ่งหากราคาปรับตัวขึ้นต่อได้ก็จะช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาทได้

สำหรับเงินดอลลาร์นั้นเพราะตลาดจะยังไม่คลายจากความกังวลเรื่องแนวโน้มที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ย หากยอดการจ้างงานสหรัฐดีกว่าที่คาดก็มีโอกาสทำให้เงินดอลลาร์ผันผวนแข็งค่าขึ้นแต่การแข็งค่าของเงินดอลลาร์อาจถูกชะลอลงได้หากประธานธนาคารกลางยุโรปส่งสัญญาณสนับสนุนการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยก็จะช่วยหนุนให้เงินยูโร (EUR) แข็งค่าขึ้นได้

ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูงผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงเช่น Option เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

ในขณะที่สัปดาห์ที่ผ่านมาตลาดการเงินฝั่งเอเชียมีการปรับตัวได้ดีโดยเฉพาะค่าเงินฝั่งเอเชียหลังมีรายงานดัชนี PMI ของจีนในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาออกมาดีกว่าที่คาดเอาไว้ในสัปดาห์นี้จึงควรระวังตลาดการเงินที่มีโอกาสผันผวนสูงโดยเฉพาะในช่วงที่เริ่มทยอยรับรู้รายงานการจ้างงานในฝั่งสหรัฐและคำแถลงจากเฟดโดยเฉพาะการแถลงต่อสภาคองเกรส

เศรษฐกิจทั่วโลกเป็นอย่างไร

เทรด forex ให้ได้วันละ 1000 บาท

สหรัฐ: สิ่งที่น่าจับตามองก็คือการรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐโดยเฉพาะข้อมูลตลาดแรงงานในส่วนของความต้องการแรงงานโดยรวมซึ่งจะสะท้อนผ่านตำแหน่งงานที่เปิดรับและยอดการจ้างงานนอกภาคเกษตร ซึ่งหากตำแหน่งงานเปิดรับและการจ้างงานนอกภาคเกษตรรวมแล้วออกมาสูงกว่าที่คาดก็มีโอกาสจะถูกมองว่าภาพรวมตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่งและตึงตัวซึ่งหากอัตราการเติบโตของรายได้ปรับตัวขึ้นสูงกว่าคาดก็จะทำให้เกิดความกังวลว่าเฟดจะยังคงเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยจนแตะระดับ5.75% ในช่วงไตรมาสที่ 3 ได้ ในกรณีดังกล่าวทำให้มีโอกาสที่จะเห็นเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นพร้อมกับการปรับตัวขึ้นของพันธบัตร10 ปีของสหรัฐเช่นกัน ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐโดยเฉพาะหุ้นเทคฯและหุ้น Growth อาจมีการปรับตัวลงได้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือแถลงการณ์จากเฟดที่จะมีการประเมินแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยรวมถึงแถลงการณ์ของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสที่คาดว่าน่าจะย้ำจุดยืนที่ต้องจัดการปัญหาเงินเฟ้อและความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อให้มั่นใจว่าเฟดจะสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อได้

ยุโรป: แถลงการณ์ธนาคารกลางยุโรปยังเป็นสิ่งที่ควรติดตามซึ่งมีการประเมินว่ามีโอกาสมากที่ทางธนาคารกลางยุโรปจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจาก 2.50% เป็น 3.75%

เอเชีย: การประชุมของธนาคารกลางฝั่งเอเชียโดยเฉพาะธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ)ยังคงถูกจับตามองโดยจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายของผู้ว่าฯ Kuroda ซึ่งมีการประเมินกันว่าน่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ -0.10% พร้อมกับคงเป้าพันธบัตร 10 ปีญี่ปุ่นไว้ที่ระดับ 0.00%+/-0.50% ทั้งนี้ทุกคนต่างคาดหวังว่า BOJ อาจเริ่มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในปีนี้หลังอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูงและกำลังจะมีการเปลี่ยนผู้ว่าฯ BOJ ในช่วงไตรมาสที่ 2 ในขณะที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย +0.25% สู่ระดับ 3.60% จนกว่าจะสามารถคุมปัญหาอัตราเงินเฟ้อได้สำเร็จ ส่วนธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) อาจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.75% ต่อ หลังอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องและการขึ้นดอกเบี้ยก่อนหน้าอาจเพียงพอที่จะคุมปัญหาเงินเฟ้อโดยที่ไม่กดดันการเติบโตเศรษฐกิจจนเกินไป

ในขณะที่ไทยภาพการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจไทยจะช่วยหนุนให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนกุมภาพันธ์ให้ปรับตัวขึ้น ทั้งนี้แม้จะมีการบริโภคในประเทศที่ฟื้นตัวได้ดีตามภาพเศรษฐกิจโดยรวมและมีส่วนช่วยหนุนให้อัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง แต่ฐานราคาสินค้าของเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้วที่อยู่ในระดับสูงรวมกับการปรับตัวลดลงของราคาสินค้าพลังงานและเนื้อสัตว์ในเดือนกุมภาพันธ์น่าจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกุมภาพันธ์ชะลอลงสู่ระดับ 3.9% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะยังคงสูงกว่าระดับ 2%

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1056417

ประเด็นสำคัญที่น่าสนใจจากข่าว ค่าเงินบาทแข็งค่าที่ 34.45 บาทต่อดอลลาร์ สะท้อนเศรษฐกิจโลกกำลังบอกอะไร ?

วิธีการเทรด Forex สำหรับผู้เริ่มต้น

การปรับตัวของค่าเงินบาทในทิศทางที่แข็งค่าขึ้นเป็นสิ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความผันผวนของค่าเงินจำเป็นต้องให้ความสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกนั่นเพราะการปรับตัวของค่าเงินในแต่ละทิศทางส่งผลกระทบต่อรายได้และต้นทุนของสินค้าทั้งสิ้น

นอกจากปัจจัยภายในอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ควรให้ความสนใจก็คือปัจจัยภายนอกจากภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาวะเงินเฟ้อของประเทศสหรัฐที่หากยังไม่สามารถควบคุมให้อยู่ในภาวะที่กำหนดได้ก็มีแนวโน้มที่เฟดจะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกซึ่งมีโอกาสทำให้ดอลลาร์แข็งค่าขึ้นแต่กระนั้นก็ยังมีการคาดการณ์เอาไว้ว่าหากธนาคารกลางยุโรปมีนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็มีส่วนช่วยชะลอไม่ให้เงินดอลลาร์แข็งค่ามากเกินไป

ภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงในไทยจึงยังต้องได้รับการจับตามองอยู่ต่อไปเพราะหากยังคงมีความผันผวนอยู่ผู้ประกอบการและนักลงทุนเองก็จำเป็นจะต้องเตรียมพร้อมรับมือเพราะยังคงมีโอกาสที่จะส่งผลต่อค่าเงินอย่างแน่นอนในอนาคตทั้งในทิศทางแข็งค่าและอ่อนค่า

ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดก็คือการใช้เครื่องมือในการประกันอัตราแลกเปลี่ยนในระดับที่ผู้ประกอบการไม่ได้รับผลกระทบจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการวางแผนการดำเนินการและรวมถึงป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความผันผวนที่ยังมีแนวโน้มที่ไม่ชัดเจนในอนาคต