คู่มือแฟรนไชส์ ถือเป็นโปรแกรมการปฏิบัติงานของระบบแฟรนไชส์ เป็นทรัพย์สินหรือลิขสิทธิ์ของแฟรนไชส์ รวมถึงเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ของระบบแฟรนไชส์ ในการก้าวไปสู่ความสำเร็จ

ผู้ที่จะเข้ามาเป็นผู้ประกอบการธุรกิจระบบแฟรนไชส์ จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคู่มือแฟรนไชส์ คู่มือแฟรนไซส์ต้องมีความน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม และไม่ซับซ้อน

คู่มือแฟรนไชส์ ถือเป็นโปรแกรมการปฏิบัติงานของระบบแฟรนไชส์ เป็นทรัพย์สินหรือลิขสิทธิ์ของแฟรนไชส์ รวมถึงเป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ของระบบแฟรนไชส์ ในการก้าวไปสู่ความสำเร็จ เรียกได้ว่า คู่มือแฟรนไชส์ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบแฟรนไชส์ ที่เกิดจากการฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ มาได้ ซึ่งธุรกิจในระบบแฟรนไชส์ต้องมีเก็บเอาไว้

คู่มือแฟรนไชส์ถือว่าเป็นสินค้าอย่างหนึ่งระบบแฟรนไชส์ เป็นแหล่งรวมองค์ความรู้ ประสบการณ์ วิธีการทำธุรกิจแฟรนไชส์ รวมไปถึงวิธีการถ่ายทอดความสำเร็จไปสู่แฟรนไชส์ซี ที่นี้เรามาดูกันว่าคู่มือแฟรนไซส์ที่ดีต้องมีองค์ประกอบแบบไหนและมีแนวทางในการเขียนอย่างไร

องค์ประกอบและแนวทางการเขียนคู่มือแฟรนไชส์

การที่จะดูว่าคู่มือแฟนไชส์ที่ดี มีมาตรฐาน และเป็นที่ต้องการของแฟรนไซส์ซี เราจะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

 1.มีวัตถุประสงค์การใช้งานชัดเจน

ผู้ที่ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์นั้นต้องมี วัตถุประสงค์ของคู่มือแฟรนไชส์ชัดเจน นำไปใช้เพื่ออะไรบ้าง โดยคู่มือแฟรนไชส์จะแสดงถึงภาพพจน์ของระบบแฟรนไชส์ คู่มือแฟรนไชส์ยังถูกใช้สำหรับถ่ายทอดความรู้ เอกสารอ้างอิง การอบรมระบบแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซี คู่มือแฟรนไชส์จะเป็นเครื่องมือควบคุมระบบ มาตรฐาน วิธีการปฏิบัติงานของแฟรนไชส์ รวมถึงใช้เป็นส่วนต่อขยายความชัดเจน การควบคุม เงื่อนไขสัญญาแฟรนไชส์ ซึ่งในคู่มือจะต้องระบุเงื่อนไขสัญญาให้มีความละเอียดชัดเจน ถูกต้อง

2.เนื้อหาสาระ

เมื่อรู้วัตถุประสงค์ของคู่มือแฟรนไชส์ คู่มือต้องบอกได้ว่าให้ใช้เพื่อทำอะไรบ้าง ผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์ต้องรู้ว่า เนื้อหาและวิธีปฏิบัติที่ใส่ลงไปในคู่มือแฟรนไชส์มีอะไรบ้าง นั้นเพื่อให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถนำไปปฏิบัติได้ดี มีเนื้อหาที่ดี ทำให้มีความเข้าใจภาพรวมของธุรกิจแฟรนไชส์ที่ประสบความสำเร็จมาก่อน โดยเนื้อหาสาระในคู่มือแฟรนไชส์ ต้องระบุถึงภาพธุรกิจทั่วๆ ให้ผู้อ่านเข้าใจ ได้รับรู้สาเหตุที่มาของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดในการทำธุรกิจ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ในการทำธุรกิจ มาตรฐานระบบธุรกิจแฟรนไชส์ ประวัติของธุรกิจ โครงสร้างองค์กร ผู้บริหาร วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายธุรกิจแฟรนไชส์ เนื้อหาสาระยังต้องมีองค์ประกอบส่วนหลัก เพื่อถ่ายทอดถึงระบบปฏิบัติการต่างๆ การทำงานประจำวัน การผลิต รูปแบบการขาย การให้บริการลูกค้า ระบบการขนส่งสินค้า การจัดเก็บและสต็อกสินค้า การจัดเก็บเงิน  นอกจากนี้ ยังมีเนื้อหาส่วนเสริม ระบุเกี่ยวกับระบบการบริหารง่านส่วนต่าง เช่น การตลาด การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ โปรโมชั่น บุคลากร พนักงาน การแต่งกาย การเงิน การบัญชี เป็นต้น

3.รูปแบบการนำเสนอ

การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ให้ต้องเป็นที่สนใจ ในปัจจุบันการจัดทำการนเสนอได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่ว่าผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์จะเลือกใช้อย่างไรให้มีความเหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง อ่านแล้วไม่น่าเบื่อ เข้าใจง่าย เชิญชวนให้อ่าน  รูปแบบการนำเสนอของคู่มือแฟรนไชส์ในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้ เช่น แบบเอกสารคู่มือทั่วไป แบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบ ภาพเคลื่อนไหว เสียง คลิป นอกจากนี้ ยังมีการนำเสนอแบบ สามารถโต้ตอบ แสดงความคิดกลับไปได้ อีกทั้งนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ เว็บไซต์  ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ควบคุม แก้ไข และส่งถึงกันได้โดยง่าย โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซีที่อยู่ไกล ปัจจุบันช่องทางสังคมออนไลน์เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเสนอคู่มือแฟรนไชส์ ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เฟสบุ๊ค ไลน์ รวมถึงเครื่องมือสื่อสารอื่นๆ ที่ได้พัฒนาตามหลังมาเรื่อยๆในอนาคตก็นำมาใช้ในการทำงานร่วมกันได้ การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ที่ดี มีมาตรฐาน มีการใส่องค์ประกอบที่ครบถ้วน มีความสมบูรณ์แบบ จะมีส่วนช่วยให้คุณสามารถควบคุมระบบมาตรฐานแฟรนไชส์ได้ง่ายขึ้น เพราะผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีได้อ่านแล้ว เข้าใจง่าย นำไปปฏิบัติได้ราบรื่น ก็จะทำให้ระบบแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

ลักษณะของคู่มือแฟรนไชส์ที่ดีและไม่ดี

เมื่อเราเห็นภาพลักษณะและวัตถุไประสงค์ของคู่มือแฟรนไซส์ ที่นี้เรามาดูกันว่าลักษณะของคู่มือแฟรนไชส์ที่ดีและไม่ดี จะมีลักษณะเป็นอย่างไรเรามดูกัน

คู่มือแฟรนไชส์ที่ดี

1.วิธีการเขียนและนำเสนออ่านง่าย ไม่ซับซ้อน

2.สร้างจากต้นแบบที่ดี

3.มีการทดลองใช้งานมาแล้ว ผ่านการตรวจสอบและทดสอบจนได้ผลสำเร็จ

4.มีความสมบูรณ์มากที่สุด

  1. มีการจัดแยกหมวดหมู่ของเรื่องได้ดี เพื่อง่ายในการค้นหา

6.มีการปรับปรุงข้อมูลให้ใหม่เสมอ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานใหม่

7.มีการยกตัวอย่างประกอบเปรียบเทียบวิธีการทำงานที่ถูก และผิด

8.มีแบบฟอร์มควบคุมการทำงานเป็นระบบชัดเจน

9.ได้นำไปใช้อบรมจริง

10.มีการตรวจสอบผลการปฏิบัติจากคู่มือและประเมินผลสำเร็จ

คู่มือแฟรนไชส์ที่ไม่ดี

1.ใช้ภาษาที่ยาก ภาษาเฉพาะทางมากเกิดไป

2.อธิบายสับสน วกไปวนมา เข้าใจยาก

3.ไม่มีการแยกหมวดหมู่ให้ชัดเจน

4.มีจำนวนหน้าน้อยเกินไปต่ำกว่า 10 หน้า

5.ไม่จัดรูปแบบหน้ากระดาษให้ดี

6.ขาดรูปประกอบ ตาราง กราฟ แผนภูมิ เป็นต้น

7.ไม่มีการเขียนอธิบายรายละเอียดเป็นขั้นตอน

7.ไม่มีตัวอย่างประกอบ เช่น กรณีศึกษา ตัวอย่าง

8.ไม่เคยนำเอาไปทดลองใช้งานมาก่อน

9.ไม่ได้การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย

10.ไม่เคยได้นำใช้อบรมจริง

11.ขาดการตรวจสอบหลังใช้คู่มือ รวมไปถึงการติดตาม และประเมินผลการใช้งานคู่มือ