ผู้ประกอบการแฟรนไซส์ไทยต้องปรับเปลี่ยนและสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองให้มาตรฐานและมีศักยภาพที่สามารถต่อสู้กับแฟรนไซส์ต่างชาติได้ด้วยอีกทางหนึ่ง

ในปัจจุบันระบบธุรกิจ แฟรนไชส์ ได้ถือกำเนิดขึ้นมากมายและหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากในประเทศหรือมาจากต่างประเทศ ธุรกิจแฟรนไซส์มรประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ทำให้ตลาดแฟรนไซส์ในประเทศไทยมีการขยายตัวสูงโดยมีแฟรนไซส์ต่างประเทศเริ่มบุกตลาดเข้ามาด้วยเช่นกัน ทำให้ภาครัฐมองเห็นความสำคัญตรงนี้จึงได้พลักดันให้แฟรนไซส์ไทยให้มีมาตรฐานระดับสากล และทำให้แฟรนไซส์ไทยสามารถแข่งขันกับแฟรนไชส์จากต่างชาติได้ ไม่เพียงแต่ภาครัฐอย่างเดียวแต่ตัวผู้ประกอบการแฟรนไซส์ไทยต้องปรับเปลี่ยนและสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ของตัวเองให้มาตรฐานและมีศักยภาพที่สามารถต่อสู้กับแฟรนไซส์ต่างชาติได้ด้วยอีกทางหนึ่ง

การที่เราสร้างมาตรฐานนั้นจำเป็นต้องมีกลวิธีการสร้างระบบธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อสร้างหลักประกันในการปกป้องแฟรนไชส์ซีและแฟรนไชส์ซอร์พบกับความล้มเหลว เรามาดูกันว่าการทำมาตรฐานแฟรนไซส์นั้นมีอะไรบ้าง

1.สร้างแบรนด์และวางระบบจัดการร้านสาขาให้มีมาตรฐาน

ก่อนที่เราเริ่มเข้าสู่ระบบธุรกิจแฟรนไชส์ สิ่งสำคัญคือธุรกิจที่ทำอยู่นั้นต้องเป็นที่ชื่นชอบและได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างดี จนมีผู้คนพูดถึงแบรนด์ของเรา มีคนสนใจหาซื้อสินค้าและบริการของเราจนขาดตลาด นั้นพอเชื่อว่าแบรนด์สินค้าของเราเป็นที่รู้จักของผู้คนพอสมควร ดังนั้นเราอาจทำการตลาดเพื่อสร้างแบรนด์ให้คนรู้จักเพิ่มมาขึ้น เมื่อยอดขายเพิ่มขึ้นโดยที่เรายังคงรักษามาตรฐานของสินค้าและบริการได้ดี สิ่งที่เราต้องทำต่อมาคือสร้างระบบการจัดการร้านให้เป็นมาตรฐานขึ้นมา เพื่อใช้เป็นต้นแบบให้กับร้านสาขาที่จะขยายต่อไปในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น ระบบการวางสินค้า ระบบการผลิตสินค้า การตกแต่งร้าน บรรยากาศร้าน ระบบบัญชี สต็อกสินค้า ระบบการจัดซื้อวัตถุดิบ ระบบบริหารจัดการคน เป็นต้น

2.ศึกษาและความเข้าใจระบบแฟรนไชส์อย่างถ่องแท้

เมื่อเรามีสาขาในธุรกิจมากพอ และมีระบบการบริหารจัดการสาขาที่เป็นมาตรฐานเดียวกันได้อย่างดี ลูกค้าที่เข้ามาในร้านไม่ว่าสาขาไหนจะได้สินค้าและบริการในรูปแบบเดียวกัน นั้นเป็นตัวกระตุ้นให้คนสนใจธุรกิจแฟรนไซส์ของเรา เมื่อถึงเวลาที่มีคนเริ่มสนใจซื้อแฟรนไชส์จากเรา ถ้าเราไม่เข้าใจระบบแฟรนไซส์ เราจะทำอย่างไร? สิ่งที่ต้องทำคือศึกษาและทำความเข้าใจระบบแฟรนไชส์ให้ลึกซึ้งให้ดีเสียก่อน หากเราไม่เข้าใจและทำระบบแฟรนไซส์แบบไม่รู้อะไร มันมีโอกาสที่ธุรกิจแฟรนไซส์ที่ขายให้กับแฟรนไซส์ซี่มีโอกาสที่จะประสบความล้มเหลวได้  เพราะเรื่องมาตรฐานแฟรนไชส์นั้นมากจากตัวแฟรนไชส์ซอร์ ถ้าแฟรนไชส์ซอร์ไม่รู้เรื่องระบบแฟรนไชส์และไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ ก็เป็นการยากไม่สามารถที่จะทำแฟรนไชส์ของตัวเองให้เป็นมาตรฐานได้

3.แฟรนไชส์ซอร์ต้องรักแบรนด์ตัวเอง

เจ้าของแฟรนไซส์ไม่รักแบรนด์ตัวเองแล้วใครจะรัก สิ่งนี้สำคัญอยู่ไม่น้อยเมื่อเราคิดทำแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐาน เราจะต้องรักในแบรนด์ของตัวเอง มันจะทำให้เรามีความพิถีพิถันในการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่มีมาตรฐานเข้ามาสู่ระบบแฟรนไชส์ของเรา เมื่อได้แฟรนไชส์ซีที่ดีก็จะดูแลธุรกิจแฟรนไซส์เราอย่างดีเช่นกัน  แต่ถ้าเราไม่รักแบรนด์ของเรา แฟรนไชส์ซีที่เราคัดเลือกเข้ามาแบบอะไรก็ได้ไม่สนใจที่จะรักแบรนด์ ก็จะทำให้แฟรนไซส์เราไม่มีมาตรฐานแน่นอน

4.กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซี

การคัดเลือกแฟรนไชส์ซีนอกจากจะต้องเป็นผู้ที่มีเงินลงทุนแล้ว ยังต้องลงทุนด้วยแรงกาย จิตใจ และความทุ่มเท ในการทำแฟรนไซส์ด้วย การบริหารจัดการร้านให้ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจระบบแฟรนไชส์เป็นอย่างดีอีกทั้งต้องมีความไว้ใจแฟรไชส์ซอร์  แฟรนไชส์ซีที่เราเลือกเข้ามาต้องมองไปที่มาตรฐาน อย่าเลือกเอาคนที่มีเงินลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบแฟรนไชส์ดีพอ ถ้าเลือกแฟรนไชส์ซีที่มีแต่เงินอย่างเดียวมันมีโอกาสที่ธุรกิจของเราจะประสบความล้มเหลวได้มาก ดังนั้นระบบแฟรนไชส์จำเป็นต้องมีมาตรฐานทั้งแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีทั้งสองประกอบกัน

5.สร้างมาตรฐานให้แฟรนไชส์ซี

มาตรฐานแฟรนไชส์ซีนั้นจำเป็นพอๆกับมาตรฐานของแฟรนไซส์ซอ หลังจากที่เราขายแฟรนไชส์ให้กับแฟรนไซส์ซีไปแล้ว เราจำเป็นต้องมีระบบการอบรม การบริหารจัดการร้าน การทำบัญชี การสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ การให้บริการ รวมถึงระบบงานต่างๆ ตามแบบร้านต้นแบบให้กับแฟรนไชส์ซีด้วย เพื่อสร้างมาตรฐานแฟรนไชส์ให้มีมาตรฐานในระดับและรูปแบบเดียวกันกับต้นแบบ

6.การรับรองมาตรฐานแฟรนไชส์

การรับรองมาตรฐานของแฟรนไซส์นั้นได้มีการตรวจสอบจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  เมื่อกระบวนการระบบแฟรนไชส์ทุกอย่างที่เราได้สร้างขึ้นมามีรูปแบบและมาตรฐานเดียวกันแล้ว  เราจะสามารถเข้าร่วมโครงการยกระดับมาตรฐานแฟรนไชส์ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ ที่ปรึกษามาทำการตรวจสอบและให้คำปรึกษาในการปรับปรุงธุรกิจให้เป็นมาตรฐานมากยิ่งขึ้น เพื่อได้รับมาตรฐานแฟรนไชส์ ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์ของเรามีความน่าเชื่อมากขึ้น อาจนำไปสู่การขยายสาขาไปต่างประเทศได้  ธุรกิจแฟรนไชส์มีความจำเป็นต้องมีมาตรฐานไม่ว่าจะการรับรองหรือไม่ สิ่งสำคัญไม่ใช่ใบรับรองมาตรฐานแต่อยู่ที่เราเองว่าจะทำแฟรนไซส์ได้เป็นมาตรฐานเองหรือไม่