กองทุนการออมแห่งชาติ รัฐช่วยออม มีเงินใช้หลังเกษียณ

กองทุนการออมแห่งชาติคืออะไร

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ ตั้งแต่  พ.ศ.  2548  และกำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุระดับสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2564 ซึ่งหมายถึงประเทศไทยจะเป็นสังคมที่มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด โดยคาดการณ์ว่าใน พ.ศ. 2574  ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด คือ มีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 28 ของ ประชากรทั้งหมดและเพื่อให้ประชาชนเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณอย่างมีคุณภาพ มีรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และช่วยแบ่งเบาภาระงบประมาณของภาครัฐในการดูแล  ผู้สูงอายุจึงทำให้เกิดระบบการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการออมภาคบังคับและการออมภาคสมัครใจ

          สำหรับการออมภาคบังคับ เป็นการออมที่ภาครัฐจัดให้กับผู้ที่เป็นแรงงานในระบบ ปัจจุบันจำนวนแรงงานในประเทศไทยทั้งสิ้น 37.5 ล้านคน เป็นแรงงานในระบบทั้งสิ้น 17.1 ล้านคน ส่วนที่เหลือ คือ แรงงานนอกระบบ หรือ    ผู้ประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 20.4 ล้านคน ซึ่งไม่มีการออมภาคบังคับ มีเพียงการออมภาคสมัครใจที่รัฐจัดให้   คือ ประกันสังคมมาตรา 40 (ทางเลือก 1, ทางเลือก 2  และทางเลือก 3) จำนวนกว่า 3.1 ล้านคน และ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 2,400,435 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มกราคม  พ.ศ. 2564) ยังเหลืออีกกว่า 15 ล้านคน ที่ยังไม่อยู่ในระบบสวัสดิการใดๆ

             กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)   เป็นกองทุนการออมภาคสมัครใจ ที่รัฐจัดให้กับแรงงานนอกระบบ ที่ไม่มีสวัสดิการอื่นใดรองรับได้มีบำเหน็จบำนาญในยามเกษียณเหมือนแรงงานในระบบจากเงินออมสะสม และเงินที่รัฐสมทบเพิ่มตามช่วงอายุของสมาชิก โดยมีเป้าหมายสำคัญในการลดความเลื่อมล้ำในสังคม สร้างหลักประกันที่มั่นคงในชีวิตของประชากร ซึ่งสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) มุ่งเน้นด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม สร้างความมั่นคงของผู้สูงอายุให้มีรายได้ที่พอเพียงจนถึงวัยเกษียณ  ยกระดับศักยภาพของประเทศ พัฒนาคนในหลากหลายมิติ เพิ่มศักยภาพให้เกิดความตระหนก เพิ่มความตระหนักรู้เรื่องการออมเงิน เพื่อความมั่นคงในวัยเกษียณเป็นปัจจัยของความสำเร็จและเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

        อำนาจหน้าที่: เพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ของสมาชิกและเพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำนาญ  และให้ประโยชน์ตอบแทนแก่สมาชิกเมื่อสิ้นสมาชิกภาพ

สมัครกองทุนการออมแห่งชาติดีไหม

แบบขอความยินยอมให้เก็บรวบรวมและประมวลข้อมูลส่วนบุคคล

ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กองทุนการออมแห่งชาติ (กองทุน) ถือเป็น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการครอบครองหรือควบคุมข้อมูลในเรื่องของการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลกองทุนต้องได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนที่จะสามารถเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นได้ เว้นแต่เป็นการดำเนินการที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 24 ของพระราชบัญญัติ ท่านสามารถดูนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของกองทุนได้ที่ www.nsf.or.th

ข้อ 1 กองทุนใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน โดยเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์และภารกิจของกองทุนภายใต้ขอบเขตของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กฎหมายว่าด้วยกองทุนการออมแห่งชาติและกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อ 2 กองทุนอาจใช้ข้อมูลเพื่อออกแบบหรือพัฒนาเกี่ยวกับการศึกษาและ/หรือการบริการเพื่อนำเสนอการจัดกิจกรรมทางการตลาด หรือเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของเจ้าของข้อมูล รวมถึงสิทธิประโยชน์ของสมาชิกกองทุน และการส่งเสริมการขาย

ข้อ 3 กองทุนอาจมีการส่งหรือโอนข้อมูลไปยังบุคคลที่สามที่เป็นหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานในกำกับของรัฐ เพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น ธนาคารของรัฐ เป็นต้น

ข้อ 4 ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจะถูกประมวลผลโดยบุคคลที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ที่กล่าวไว้เท่านั้น ทั้งนี้ การไม่ยินยอมให้ข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวจะทำให้กองทุนไม่สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวกับท่านและทำให้ท่านไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าว

ข้อ 5 ท่านมีสิทธิที่จะถอนการยินยอมในการให้เก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ [email protected]

ข้อ 6 กองทุนรับประกันว่ามีการดำเนินการรักษาความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน และจัดให้มีมาตรการด้านเทคนิคและการจัดการเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลของท่านโดยมิชอบ