ปัจจุบัน Burger King มีรายได้จัดเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มธุรกิจอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด มีสาขามากกว่า 15,700 สาขาทั่วโลก และมีลูกค้ามากกว่า 11 ล้านคนต่อวัน นับเป็นก้าวแห่งความสำเร็จที่กว่าจะเดินมาถึงจุดนี้ได้ต้องใช้เวลานานนับสิบปี

หากพูดถึง Burger King  เราจะนึกถึงร้านแฮมเบอร์เกอร์ เฟรนด์ไชน์ดังจากต่างชาติที่มีหลายสาขาในประเทศไทย หน้าร้านมีโลโก้รูปวงกลมสีน้ำเงินล้อมรอบรูปแฮมเบอร์เกอร์สีเหลืองสดใสมีตัวอักษร ‘Burger King’ สีแดงขนาดใหญ่อยู่ตรงกลางสื่อถึงเบอร์เกอร์เนื้อชิ้นใหญ่ฉ่ำซอสและเครื่องเคราแบบฟูลออฟชั่นประกบด้วยขนมปังรูปวงกลมเต็มปากเต็มคำ แม้ Burger King จะเป็นอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดส์ ที่เน้นความสะดวกรวดเร็วแต่รสชาติและปริมาณอาหารนับว่าคุ้มค่าคุ้มราคา

เส้นทางการเปลี่ยนมือขายกิจการครั้งแล้วครั้งเล่าของ Burger King

       Burger King ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1953 ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย Keith Kramer และ Matthew Burns โดยใช้ชื่อร้านว่า “Insta-Burger” โดยนำมาจากชื่อของเครื่องย่างเนื้อที่เป็นเครื่องที่ทันสมัยมาก ๆ ในยุคนั้น เมื่อมีกรซื้อเครื่อง Insta มาใช้ในการย่างเนื้อ พวกเขาจึงใช้ชื่อของมันมาตั้งเป็นชื่อร้านเสียเลย

กิจการร้าน Insta-Burger ไม่ได้ประสบความสำเร็จอย่าสวยหรูอย่างที่คาดหวังไว้ หลังจากเปิดร้านได้เพียง 1 ปี Keith Kramer และ Matthew Burns ได้ตัดสินใจขายกิจการให้กับ James Mclamore และ David R. Edgerton เนื่องจากเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน โดยเจ้าของคนใหม่ได้ทำการเปลี่ยนชื่อร้านและปรับระบบใหม่ โดยใช้ชื่อว่า “Burger King”

Burger King ถูกเปลี่ยนมืออีกครั้งใน 13 ปีต่อมา โดย James Mclamore และ David R. Edgerton ได้ขายกิจการให้กับบริษัท Pillsbury โดยคราวนี้ได้ว่าจ้างให้ Donald N.Smith อดีตผู้บริหารของ McDonald’s เข้ามาปรับโครงสร้างของบริษัทใหม่ แม้จะมีการปรับโครงสร้างใหม่แล้ว แต่บริษัทก็ยังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินอันเนื่องมาจากการบริหารงานโดยผู้นำที่ไม่มีประสิทธิภาพ   

       Burger King เปลี่ยนเจ้าของใหม่อีกครั้งในปีค.ศ.2006 โดยครั้งนี้กิจการ Burger King ถูกนำเข้าตลาดหุ้นวอลล์สตรีตโดยกลุ่มบริษัท ทีพีจี แคปิทอล (PTG Capital), เบน แคปิทอล (Ben Capital) และ โลแมน แซคส์ (Goldman Sachs) แต่ก็ยังไม่แคล้วประสบปัญหาทางการเงินเช่นเดิม

ในปี 2010 บริษัท ทรีจี แคปิทอล (3G Capital) จากบราซิลได้ซื้อกิจการ Burger King และสามารถซื้อหุ้น Burger King คืนกลับมาจากตลาดหุ้นได้ทั้งหมด ภายใต้การบริหารงานโดย Alexandre Behring และ John Chidsey ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง และวางแผนกลยุทธ์ใหม่ทั้งหมด ทำให้ Burger King สามารถฟื้นคืนชีพหลังจากล้มลุกคลุกคลานมานานนับสิบปี

ปัจจุบัน Burger King มีรายได้จัดเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มธุรกิจอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด มีสาขามากกว่า 15,700 สาขาทั่วโลก และมีลูกค้ามากกว่า 11 ล้านคนต่อวัน นับเป็นก้าวแห่งความสำเร็จที่กว่าจะเดินมาถึงจุดนี้ได้ต้องใช้เวลานานนับสิบปี

กลยุทธ์ Burger King ราชาแห่งนักรบเบอร์เกอร์ นักรบที่ไร้แผลหาใช่เป็นนักรบ นักธุรกิจที่ไร้ล้มก็หาใช่นักธุรกิจ

1.กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว Burger King ก็เช่นกัน

กว่าจะประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและสร้างรายได้มหาศาลได้ Burger King ต้องผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านวิกฤติการขาดทุนมาครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะความไร้ประสบการณ์ ขาดการเอาใจใส่ และขาดการบริหารกิจการที่ดี

2.ธรรมดาโลกไม่จำ สินค้าดีควรมีเอกลักษณ์

Burger King ถือกำเนิดมาจากการที่ Keith Kramer และ Matthew Burns อยากมีร้านขายแฮมเบอร์เกอร์สักร้าน จนถึงกับลงทุนซื้อเครื่องย่างเนื้อที่ทันสมัยที่สุดมาใช้ดึงดูดลูกค้า แต่กลับขาดทุนภายใน 1 ปี นั่นเพราะไอเดียมันซ้ำกับ McDonald’s ที่มีอยู่ก่อนแล้ว

3.ถ้าแผนเดิมใช้ไม่ได้ เปลี่ยนแผนใหม่จนกว่าจะรุ่ง

Burger King ถูกเปลี่ยนเจ้าของมาถึง  4 ครั้ง และทุกครั้งได้มีการปรับกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน กระทั่งการว่าจ้างอดีตผู้บริหาร McDonald’s มาช่วยในการปรับโครงสร้างกิจการใหม่ แม้สุดท้ายแล้วจะไม่ได้ช่วยให้ Burger King ผงาดขึ้นมาได้ แต่ก็แสดงให้เห็นว่า Burger King ได้ดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดมาทุกวิถีทางจริง ๆ

4.จุดเด่น จุดขาย จุดยืน คือขายแฮมเบอร์เกอร์

Burger King มุ่งมั่นที่จะรักษาระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์และปรับปรุงให้โดนใจฐานลูกค้าของตนมากกว่าการเพิ่มรายการอาหารให้หลากหลายเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าเหมือนคู่แข่ง นั่นทำให้ Burger King มีความแข็งแกร่งในเรื่องของรสชาติและคุณภาพของแฮมเบอร์เกอร์ และหากนึกถึงแฮมเบอร์เกอร์อร่อย ๆ จะต้องนึกถึงชื่อ Burger King มาก่อนเสมอ

บทเรียนจาก Burger King

1.แผนการตลาดดิ้นได้หากมันไม่เวิร์ค

ปรับแผนได้หากผลตอบรับไม่ดีเท่าที่ควร เช่น สินค้าขายได้แต่ไม่มีการกลับมาซื้อซ้ำ หรือ ยอดขายลดต่ำลงเรื่อย ๆ ควรตรวจสอบได้แล้วว่าแผนการตลาดที่ทำอยู่ดีพอหรือไม่ คุณภาพผลิตภัณฑ์ของเรามีข้อบกพร่องตรงไหนหรือเปล่า

2.ล้มแล้วรีบลุก อย่าจมอยู่กับความล้มเหลวนาน

เพราะเวลาไม่ได้หยุดนิ่งไปกับเรา อย่าลืมว่ากว่า Burger King จะประสบความสำเร็จได้ ต้องผ่านมือผู้บริหารที่เก่งกาจมาแล้วถึง 4 ครั้ง ซึ่ง 3 ใน 4 นั้นจบลงที่ความล้มเหลว

3.ศึกษาให้มากก่อนเริ่มเดินเกมส์

จากกรณีศึกษาของ Burger King จะเห็นได้ว่าผู้ก่อตั้งคนแรก แทบไม่ได้คิดอะไรมากไปกว่าการเปิดร้านแฮมเบอร์เกอร์ พวกเขาไม่ได้ศึกษาปัจจัยอื่นเลยด้วยซ้ำ เมื่อเริ่มลงมือทำจึงเกิดปัญหาขึ้นมากมายจนกระทั่งไม่สามารถรับมือกับปัญหาต่าง ๆ ได้ จนกิจการขาดทุนในที่สุด

4.อะไรที่ดีให้คงไว้ ใช้ต่อยอดสร้างไอเทมเด็ดให้กิจการ

แม้ Burger King จะไม่ค่อยประสบผลสำเร็จในช่วงต้นอันเนื่องมาจากขาดการบริหารจัดการที่ดี แต่สิ่งหนึ่งที่ Burger King ยังคงเก็บไว้และไม่มีการเปลี่ยนแปลแม้จะมีการเปลี่ยนมือคือ คุณภาพของสินค้าที่เน้นความสดใหม่ และยังเป็นเจ้าเดียวที่ยังคงใช้วิธีการผลิตแบบเดิมคือเนื้อแฮมเบอร์เกอร์ทุกชิ้นจะต้องผ่านการย่างเท่านั้น ซึ่งกลายมาเป็นจุดขายของ Burger King ในปัจจุบัน

บทความโดย ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร “เขียนบทความสร้างรายได้ รุ่น 2”

คุณ สุภารัตน์  ศรีลา (แต)ปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา

ปัจจุบัน พนักงานบริษัท และตัวแทนประกันชีวิต

บทความเกี่ยวกับกรณีศึกษา